Ecodharmaธรรมนิเวศ : อนาคตสรรพสิ่งในโลกที่กำลังเดือด
The 29th Annual Sem Pringpuangkeo Public Lecture
by David R. Loy
Monday, 26th February 2024,
Sathirakoses-Nagapradipa Foundation, Bangkok
ปาฐกถาเสม พริ้งพวงแก้ว เรื่อง “Ecodharma ธรรมนิเวศ : อนาคตสรรพสิ่งในโลกที่กำลังเดือด โดย David R. Loy นักเขียนและธรรมาจารย์เซนชาวอเมริกัน และแปลภาษา โดย อัญชลี คุรุธัช (ดูย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/watch/?v=1137380174367408 )
เพื่อนมอญในแชตเริ่มด้วยคำถามว่า ทำไมตั้งชื่องานว่า Global Boiling? พอกลับมาดูชื่อหนังสือของ อ.เดวิด มันก็เขียนเพียงว่า Ecodharma: Buddhist Teachings for the Ecological Crisis ส่วนตัวเดาว่า การเลือกใช้ โลกเดือด น่าจะสอดคล้องกับสภาวะโกลาหล สงครามและโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหลาย ๆ พื้นที่ และการพยายามให้นิยาม climate change ที่ดูเหมือนจะหาคำแปลไทยที่มากกว่าโลกร้อนไม่ได้สักที
อ.เดวิด เปิดประเด็นด้วยบทสนทนาที่ลูกศิษย์ถามธรรมาจารย์เซนว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรในยามลำบาก ธรรมาจารย์เซนบอกว่าให้โอบรับและต้อนรับด้วยการตอบสนองอย่างเหมาะสม “embrace and welcome difficult times by responding appropriately”
อ.เดวิด เสนอว่า ในยามวิกฤตทางนิเวศ พุทธศาสนา Buddhism มีคำสอนที่สามารถเอามาปรับประยุกต์เพื่อเผชิญหน้ากับวิกฤติและความทุกข์ยากได้เช่นกัน หากเราไม่แบ่งแยกมหานิกายกับเถรวาทออกจากกัน “เส้นทางพระโพธิสัตว์ bodhisattva path” ที่สอนให้กระทำการโดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ acting without attachment to the results น่าจะเป็นหนึ่งแนวทางที่น่านำเสนอให้กับโลกมนุษย์ แต่นี่ไม่ใช่การแนะนำว่าควรทำอะไร แต่เป็นการนำเสนอว่าน่าจะทำอย่างไร Buddhist teachings do not tell us what to do, but they tell us a lot about **how** to do it
แต่ด้วยบริบทและช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าดำรงอยู่นั้น ช่างแตกต่างกับปัจจุบัน อีกทั้งหลักคำสอนของพุทธเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยนและลื่นไหลไปตามสภาวะและค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้น ยามวิกฤตที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็ท้าทายศาสนาพุทธให้ปรับตัวเช่นกัน
อ.เดวิด เสนอแนวคำสอน 3 ประการ
(1) โอบรับทั้งการเปลี่ยนแปลงภายในและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอก โดยไม่แบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว nonduality เพราะการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกก็เป็นกระบวนการสำคัญในการตื่นรู้ เป็นการนำสิ่งที่ปัจเจกภาวนาไปลงมือปฏิบัติจริง “Engagement in the world is how our individual awakening blossoms, and contemplative practices such as meditation ground our activism, transforming it into a spiritual path.”
(2) ทุกข์ที่มากกว่าปัจเจก ทุกข์ระดับสถาบัน Dukha are not only personal sufferings but now they are institutionalized บริบทที่แตกต่างทำให้เราต้องปรับความเข้าใจว่า ทุกข์ ในวันนี้เป็นอย่างไร ในอดีตพุทธศาสนาเป็นความเชื่อของผู้คนจำนวนเล็กน้อย แต่ศาสนาจะถูกเผยแพร่ได้กว้างไกลก็ต้องอิงกับอำนาจใหญ่ของสังคม ข้อจำกัดนี้อาจทำให้พุทธศาสนากลายเป็นหลักคำสอนที่โฟกัสกับปัจเจกเป็นหลัก แต่เหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ โลภ โกรธ หลง กลายเป็นปัญหาทุกข์ยากระดับโครงสร้าง อ.เดวิด เสนอว่า พุทธเคยมีภิกษุณีสังฆะที่เข้มแข็ง เคยเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนจัณฑาลปลดแอกจากระบบวรรณะ ดังนั้น หากเราสามารถเสริมความเข้มแข็งของสังฆะและชุมชน จะเป็นการถักทอความสัมพันธ์ให้ปัจเจกมุ่งปฏิบัติทั้งเพื่อตัวเองและผู้อื่นได้เช่นกัน อ.เดวิด ยกคำพูดของนักรณรงค์โลกร้อน Bill McKibben ที่เสนอให้รวมกลุ่ม “the most important thing an individual can do, is be a little less of an individual and join together with others in movements large enough to make change.”
(3) nirasa นิรสา แปลว่า ไม่คาดหวัง without expectations or hope แน่นอนผลลัพธ์ของการกระทำนั้นสำคัญ แต่เราไม่ควรยึดติดกับผลลัพธ์ results are important but not to attach ความไม่ยึดติดดังกล่าว ทำให้เราไม่รู้ และจิตที่ไม่รู้ “don’t know mind” จะยืดหยุ่นกว่า เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และบ่มเพาะพลังภายใน (empower) มากกว่าจิตที่รู้ ที่มักปิดกั้นและยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะความเป็นคู่ตรงข้าม เช่น ความสิ้นหวัง / ความหวัง despair / hope ที่หล่อเลี้ยงกันและกันและทำให้เรายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อ.เดวิด ยกคำกล่าวจากอนุสรณ์รำลึกผู้เสียชีวิตในช่วง 9/11 มาเป็นเครื่องเตือนใจว่า “Grief is the price we pay for love” ความอาลัยเศร้าโศกคือราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อความรัก หากเรามองว่า สิ่งที่ต่างจาก despair ความสิ้นหวัง คือ grief ความโศกเศร้า เราจะเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง ไม่ยึดติด ตัวเราจะชัดขึ้นว่าสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต
การภาวนาและฝึกสมาธิ meditation เป็นหนึ่งในสิ่งที่พุทธศาสนาเสนอว่าเราจะโอบรับความยากลำบากอย่างไร การไม่ยึดติดและตระหนักถึงความไม่จีรังอันเป็นธรรมชาติของโลก ชวนให้เราตระหนักรู้ถึงสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงตัวเรากับสรรพสิ่ง แทนที่ตัดขาดตัวเราจากสรรพสิ่ง การแบ่งแยกตัวเราจากสายใยชีวิตต่างหากที่เอื้อให้ความโลภ โกรธ หลงเกาะกินเราจนทำให้เราเห็นเพียงความสิ้นหวัง พังทลาย
ตลอดเวลาที่ฟังปาฐกถเสม แพรนึกถึงคำว่า response-ability ของกลุ่มนักคิดสตรีนิยมหลากสายพันธุ์ feminist multispecies scholars เช่น Donna Haraway เด้งขึ้นมาทันที มันเป็นการเล่นคำกับ response การตอบสนอง/ตอบกลับ และ responsibility ความรับผิดชอบ ที่เมื่อเรารับรู้และรู้สึกกับสายสัมพันธ์ที่เรามีกับสิ่งอื่น ๆ และตระหนักว่าตัวเราก็ประกอบสร้างจากสายสัมพันธ์เหล่านั้น เราก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำและการถูกกระทำของเราตัวเรากับสรรพสิ่งเช่นกัน ในแนวคิดหลากสายพันธุ์ศึกษา multispecies studies ใช้คำว่า the art of attentiveness บ้าง noticing บ้าง ซึ่งพัฒนามาจากเรื่องของผัสสารมณ์ affects ที่กลุ่มสตรีนิยมทำให้เห็นถึงอำนาจของปัจเจกที่ทั้งกำลังถูกเบียดเบียน ปะทะและโต้กลับ
หากทุกข์ เป็นมากกว่าเรื่องของปัจเจก แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างและระบบที่ทำให้เกิดทุกข์ แพรนึกถึงกระบวนการของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ที่ชวนตั้งคำถามกับเบื้องหลังปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ ด้วยการสาวตามสายใยกกระบวนการที่หล่อหลอมให้เรามองปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องน่าหดหู่และดูไร้ทางออก แต่มันมีกลไกทางความคิดที่พยายามตัดขาดสายสัมพันธ์ของคนกับสรรพสิ่งให้กลายเป็นเพียงวัตถุหรือมีค่าเพียงเพราะมันมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือต่อเจ้าอำนาจหรือเจ้าอาณานิคมเท่านั้น ช่วงเวลาโศกเศร้า griefing จึงเป็นทั้งเครื่องเตือนใจและสิ่งที่เสริมพลังความมีชีวิตชีวิตของมนุษย์และสรรพสิ่ง ดั่งที่ อ.เดวิด ยกตัวอย่าง (ขอบคุณแม่ที่ทำให้รู้จักการเศร้าโศกอาลัย)
ท่ามกลางสภาวะโหดร้ายทารุณที่ผู้คนยังคงเผชิญ ไม่ว่าจะสงครามฆ่ากัน ความเกลียดชังที่มาจากจุดยืนทางการเมืองที่ต่างกัน การขูดรีดแรงงานและความเป็นเพศสภาวะอื่น การจะมาไตร่ตรองจิตแบบธรรมนิเวศอาจเป็นเพียงสิ่งที่คนมีอภิสิทธิ์บางอย่างจะมีเวลาให้ อย่างไรก็ตาม การชวนมองพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ลื่นไหล flow เป็นการเปิดกรอบความคิดและเชิญชวนให้คนมีความคิดสร้างสรรค์และเข้าร่วมปะทะหนุนเสริมกันได้ดี กระบวนการแบบนี้น่าจะช่วยปลดแอกจากความคิดครอบงำที่คอยเน้นแต่ปัจเจกและยกตัวเราให้สูงส่งกว่าสิ่งอื่นๆ ที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้ แต่เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากสายสัมพันธ์ใหม่ ๆ ของธรรมนิเวศ ecodharma ที่จิตที่ไม่รู้จะนำพา
Source : https://www.facebook.com/altgeog/posts/10161424081837594