Przeglad metod platnosci w Vox Kasyno

Przeglad metod platnosci w Vox Kasyno

Wybór odpowiedniego kasyna online to nie tylko kwestia dostępnych gier i bonusów. Coraz więcej graczy zwraca uwagę również na szybkość, bezpieczeństwo i wygodę metod płatności. Vox Casino, jako nowoczesna platforma hazardowa, dostosowuje się do oczekiwań graczy z Polski, oferując szeroką gamę opcji wpłat i wypłat – zarówno tradycyjnych, jak i nowoczesnych. Dzięki temu użytkownicy mogą bezproblemowo zarządzać swoimi środkami i skupić się na grze.

W 2025 roku Vox Casino należy do grona kasyn, które obsługują polskie systemy płatności takie jak BLIK i Przelewy24, oferując jednocześnie pełne wsparcie dla kart debetowych i kredytowych (Visa, Mastercard), e-portfeli oraz kryptowalut. To sprawia, że gracze mają pełną swobodę wyboru narzędzi finansowych, które najlepiej pasują do ich preferencji oraz stylu gry.

Jednym z największych atutów platformy jest szybkość przetwarzania transakcji – wpłaty są księgowane niemal natychmiast, a wypłaty realizowane są zazwyczaj w ciągu 24–48 godzin. Vox Casino nie pobiera też prowizji za większość operacji, co stawia je w korzystnym świetle na tle wielu konkurencyjnych serwisów hazardowych. Wszystkie operacje są szyfrowane i zabezpieczone zgodnie z międzynarodowymi standardami bezpieczeństwa finansowego.

Szczegółowe informacje o dostępnych metodach płatności oraz aktualne limity można znaleźć na stronie Vox casino, gdzie regularnie publikowane są poradniki dla graczy i porównania z innymi licencjonowanymi platformami dostępnymi w Polsce.

Metody płatności dostępne w Vox Casino

Vox Casino udostępnia użytkownikom szeroki wybór sposobów dokonywania wpłat i wypłat. Do najpopularniejszych należą:

  • BLIK – szybka metoda płatności mobilnej, popularna w Polsce. Pozwala na błyskawiczne transakcje bez konieczności użycia karty.
  • Przelewy24 – integracja z systemami bankowości internetowej. Wpłata odbywa się w czasie rzeczywistym, a potwierdzenie trafia bezpośrednio do kasyna.
  • Karty płatnicze – Visa i Mastercard są obsługiwane zarówno przy wpłatach, jak i wypłatach. Operacje są bezpieczne i szybkie, choć wypłata może zająć do kilku dni roboczych.
  • Portfele elektroniczne – Skrill, Neteller, Jeton i ecoPayz pozwalają na szybkie transakcje bez ujawniania danych bankowych. To idealne rozwiązanie dla graczy ceniących prywatność.
  • Kryptowaluty – Bitcoin, Ethereum, Tether i inne tokeny są obsługiwane przez kasyno, co docenią gracze stawiający na anonimowość i szybkie wypłaty.

Bezpieczeństwo transakcji

Vox Casino stosuje szyfrowanie SSL i spełnia wymogi licencji Curaçao eGaming. Każda transakcja jest chroniona, a dane użytkowników nie są przekazywane stronom trzecim. Dzięki temu gracze mogą mieć pewność, że ich środki są bezpieczne, niezależnie od wybranej metody płatności. Dodatkowo platforma korzysta z technologii autoryzacji dwuskładnikowej (2FA), co jeszcze bardziej podnosi poziom ochrony konta gracza.

System Martingale w ruletce – czy warto stosować?

Wiele osób grających w ruletkę w Vox Casino korzysta z różnych systemów obstawiania, a jednym z najczęściej spotykanych jest system Martingale. To strategia, która zakłada podwajanie stawki po każdej przegranej w zakładzie o równych szansach (np. czerwone/czarne, parzyste/nieparzyste). Teoretycznie, pierwsza wygrana pokrywa wszystkie wcześniejsze straty i przynosi niewielki zysk.

Martingale może wydawać się kuszący, ale wiąże się z dużym ryzykiem. Po kilku przegranych z rzędu stawki rosną wykładniczo, a gracze często napotykają limity stołu lub wyczerpują budżet. Wersje zmodyfikowane, takie jak mini-Marty czy Grand Martingale, próbują ograniczyć to ryzyko, ale żadna nie daje gwarancji sukcesu. Jeśli decydujesz się na tę strategię, warto ustalić maksymalną liczbę kroków i zawsze trzymać się określonego limitu.

Jakie metody wypłat są najlepsze?

Wypłaty z Vox Casino można realizować na te same metody, z których dokonano wpłaty – pod warunkiem, że są one technicznie dostępne do odbioru środków. Najszybsze wypłaty realizowane są przez e-portfele i kryptowaluty – zwykle trwają do 24 godzin. Karty płatnicze mogą wymagać do 3 dni roboczych, natomiast przelewy bankowe zależą od godzin pracy banku.

Przed pierwszą wypłatą należy przejść procedurę weryfikacji konta (KYC), polegającą na przesłaniu dokumentu tożsamości i potwierdzenia adresu. To jednorazowy proces, który zwiększa bezpieczeństwo wszystkich transakcji.

Podsumowanie

Vox Casino to kasyno online, które stawia na wygodę, szybkość i bezpieczeństwo. Dzięki szerokiej gamie metod płatności – od popularnych w Polsce systemów jak BLIK i Przelewy24, przez klasyczne karty, aż po nowoczesne kryptowaluty – każdy gracz znajdzie odpowiednią opcję dla siebie. Szybkie transakcje, przejrzyste warunki i brak prowizji sprawiają, że zarządzanie środkami na platformie jest łatwe i komfortowe. Vox Casino to dobry wybór dla osób szukających nowoczesnego podejścia do rozrywki hazardowej, również pod względem finansowym.

Czy Vox Casino jest przyjazne osobom bez doswiadczenia w grach hazardowych

Czy Vox Casino jest przyjazne osobom bez doswiadczenia w grach hazardowych

Dla wielu osob pierwsze zetkniecie z kasynem online moze byc stresujace i pelne watpliwosci. Brak doswiadczenia, niezrozumiale regulaminy, liczne bonusy i setki gier – wszystko to sprawia, ze poczatkujacy gracze czesto czuja sie zagubieni. Na szczescie sa platformy, ktore dbaja o komfort uzytkownika od pierwszych chwil. Vox Casino to jeden z przykladow kasyna, ktore stawia na intuicyjnosc, przejrzystosc i wsparcie, zwlaszcza dla nowych graczy.

Platforma Vox casino oferuje nowoczesny, prosty w obsludze interfejs, dostosowany do potrzeb uzytkownikow mobilnych i stacjonarnych. Rejestracja trwa kilka minut i nie wymaga podawania zlozonych danych – wystarczy adres e-mail i podstawowe informacje. Już na starcie nowi gracze moga skorzystac z bonusu powitalnego, ktory pozwala na rozpoczecie przygody bez duzego ryzyka wlasnego budzetu. Co wiecej, Vox Casino udostepnia tryb demo dla wiekszosci automatow, co pozwala zapoznac sie z zasadami gry bez koniecznosci dokonywania depozytu.

Licencjonowanie i wiarygodnosc kasyna

Jednym z najwazniejszych aspektow przy wyborze kasyna online jest jego legalnosc i transparentnosc. Vox Casino dziala na podstawie licencji wydanej przez Curacao eGaming – jednego z najbardziej znanych organow licencyjnych w branzy hazardowej. Licencja ta gwarantuje, ze dzialania kasyna sa zgodne z miedzynarodowymi standardami bezpieczenstwa, uczciwosci i ochrony danych graczy.

Oprocz Curacao, inne uznane instytucje licencyjne to Malta Gaming Authority (MGA) oraz UK Gambling Commission (UKGC). MGA znana jest z rygorystycznych procedur kontrolnych i szczegolowego nadzoru nad finansami operatorow. UKGC z kolei skupia sie na ochronie graczy, zwlaszcza w kontekscie odpowiedzialnej gry i przejrzystosci warunkow promocji. Choc Vox Casino nie posiada jeszcze licencji MGA ani UKGC, dzialajac pod licencja Curacao zapewnia wysoki poziom bezpieczenstwa, co czyni je odpowiednim miejscem takze dla osob bez doswiadczenia w grach hazardowych.

Wsparcie i edukacja dla poczatkujacych graczy

Vox Casino stawia na edukacje swoich uzytkownikow. Na stronie kasyna mozna znalezc szczegolowe opisy gier, instrukcje, zasady oraz poradniki dotyczace korzystania z bonusow czy dokonywania platnosci. Dodatkowo, dostepny jest czat na zywo, gdzie gracze moga zapytac o wszystko – od zasad konkretnej gry po warunki obrotu bonusem. Dzial obslugi klienta dziala 24/7 i odpowiada na pytania w kilku jezykach.

Kolejnym udogodnieniem sa regularnie organizowane turnieje oraz promocje, w ktorych progi wejscia sa niskie, a zasady jasno przedstawione. To dobra okazja dla nowych graczy, by poczuc dreszcz rywalizacji bez duzego ryzyka finansowego. Vox Casino oferuje tez prosty system lojalnosciowy, ktory nagradza aktywnosc gracza – nawet przy niewielkich stawkach.

Bezpieczne platnosci i odpowiedzialna gra

Osoby bez doswiadczenia w kasynach internetowych czesto obawiaja sie o bezpieczenstwo swoich srodkow. Vox Casino wspiera szeroki wachlarz metod platnosci – od kart kredytowych i debetowych, przez portfele elektroniczne, po kryptowaluty. Wszystkie transakcje sa zabezpieczone certyfikatami SSL, a dane osobowe chronione zgodnie z miedzynarodowymi regulacjami RODO.

Kolejnym aspektem, na ktory warto zwrocic uwage, jest odpowiedzialna gra. Vox Casino udostepnia narzedzia pozwalajace na ustawienie limitow depozytu, czasu gry oraz przegranych. Gracze moga tez skorzystac z opcji samowykluczenia na okres kilku dni, tygodni lub nawet stale. Wspolpraca kasyna z organizacjami takimi jak BeGambleAware i Gambling Therapy dodatkowo swiadczy o jego zaangazowaniu w kwestie bezpieczenstwa psychicznego uzytkownikow.

Podsumowanie

Vox Casino to platforma, ktora zdecydowanie mozna polecic osobom bez doswiadczenia w grach hazardowych. Intuicyjny interfejs, mozliwosc gry w trybie demo, prosta rejestracja, czytelne regulaminy oraz szerokie wsparcie klienta czynia z tej strony przyjazne miejsce na rozpoczecie przygody z kasynem online. Dzialajac pod legalna licencja i stosujac standardy odpowiedzialnej gry, Vox Casino zapewnia bezpieczne i komfortowe warunki nawet dla najmlodszych graczy – nie tylko pod wzgledem wieku, ale przede wszystkim doswiadczenia.

ญี่ปุ่นน่าอยู่ แต่ทำไมถึงอยากตายรายวัน

ญี่ปุ่นน่าอยู่ แต่ทำไมถึงอยากตายรายวัน

ผู้เขียน : เรืองริน ประทิพพรกุล
ข้อความบางส่วนจากบทความ ญี่ปุ่นน่าอยู่ แต่หนูอยากตาย: เมื่อ “ความเป็นส่วนตัว” กลายเป็นความเพิกเฉยต่อสังคม
https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=731
ขอบคุณภาพจาก https://www.nippon.com/

ผู้อ่านและคนรอบตัวของผู้อ่านหลายท่านอาจจะรู้จักญี่ปุ่นว่าเป็นประเทศที่บ้านเมืองสะอาด เรียบร้อย ผู้คนไม่คดโกงและชอบรักษาปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด หากทำกระเป๋าสตางค์หรือโทรศัพท์หล่นหายก็มักได้คืนทุกครั้ง และเมื่อคงพูดถึงวัฒนธรรม soft power ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูน อะนิเมะ หรือ J-Pop หลายคนอาจนึกถึงภาพตอนที่มีเหตุแผ่นดินไหว บ้านเรือนถล่มทลายโดนสึนามิพัดเสียหาย แต่คนญี่ปุ่นก็ยังยืนต่อแถวรอรับข้าวของเยียวยาจากทางหน่วยงานอย่างเป็นระเบียบ ไม่แก่งแย่งชิงกันเหมือนที่เห็นกันในทั่วไปในประเทศอื่น การเก็บเอาขยะกลับบ้านไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตามถือเป็นนิสัยที่น่าชื่นชมของคนประเทศนี้ ในด้านการสาธารณสุขอย่างเรื่องระบบการแพทย์และพยาบาลก็มีให้เข้าถึงทุกที่ไม่ทอดทิ้งคนจนไว้ข้างหลัง (ดูเพิ่มเติมได้ในบทความของผู้เขียน: ประสบการณ์การใช้บริการระบบประกันสุขภาพแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น) เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้เขียนประทับใจและรู้สึกว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่น่าอยู่มาก

อย่างไรก็ตาม ไม่มีที่ไหนสมบูรณ์แบบไปหมดเสียทุกเรื่อง เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา ณ หอพักนักศึกษาที่ผู้เขียนอาศัยอยู่ มีนักศึกษาหญิงฆ่าตัวตายและเป็นข่าวใหญ่ออกทั้งรายการโทรทัศน์และวิทยุท้องถิ่น และในวันที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้ (15 มีนาคม 2566) มีอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแจ้งมาว่ากำลังไปงานศพของศิษย์เก่าที่เลือกจบชีวิตตนเองในวัย 30 ปี แม้ว่า ปี 2566 เพิ่งเริ่มมาได้เพียงสองเดือนกว่าๆ แต่ข่าวเรื่องการฆ่าตัวตายก็เกิดขึ้นถี่ราวกับกับอุบัติเหตุบนท้องถนนในกรุงเทพมหานคร

เมื่อมาย้อนคิดดูแล้ว การฆ่าตัวตายของบุคคลใกล้ตัวผู้เขียนนั้นมีทุกปีตั้งแต่มาอยู่ที่ญี่ปุ่น ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอเรื่องราวฆ่าตัวตายของคนญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ พร้อมกับแสดงความคิดเห็นเชิงวิจารณ์สังคมญี่ปุ่น (โดยเฉพาะเมืองใหญ่) จากประสบการณ์การใช้ชีวิตในญี่ปุ่นมาเกินสิบปี ผู้เขียนมองว่าญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีเส้นแบ่งของพื้นที่ส่วนตัวกับพื้นที่ส่วนรวมที่ชัดเจนเกินไป ทำให้มนุษย์มีความโดดเดี่ยวเพราะความสำคัญของความเป็นส่วนรวมนั้นตกชายขอบ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของต้นเหตุของปัญหาที่ไม่อยากให้เกิด

หากไม่นับข่าวดังที่มิอุระ ฮารุมะ ดาราหนุ่มคนโปรดของผู้เขียนฆ่าตัวตายในปี พ.ศ. 25631 และข่าวที่มีชายวัยกลางคนคนหนึ่งพุ่งกระโดดไปที่รถไฟด่วนที่เมืองโกเบ จนทำให้ทั้งคนกระโดดและผู้โดยสารในรถไฟเสียชีวิตเมื่อปี 2564 แล้ว2  ข่าวที่อยู่ในความทรงจำของผู้เขียนก็คงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ที่มีเด็กนักเรียน ม.ปลายอายุ 17 ปี กระโดดลงมาจากห้างสรรพสินค้า Hep-Five ที่ตั้งอยู่ย่านใจกลางเมืองโอซาก้า3 ใกล้กับสถานีรถไฟที่ผู้เขียนใช้สัญจรเป็นประจำ เด็กหนุ่มคนนี้กระโดดลงมากระแทกกับนักศึกษาผู้หญิงอายุ 19 ปี ทำให้เสียชีวิตทั้งคู่ หลังจากข่าวนี้ เวลาผู้เขียนจะเดินผ่านทางนี้ทีไร เป็นต้องแหงนหน้ามองขึ้นฟ้าทุกที4

อีกเรื่องที่เป็นข่าวดังมากอยู่ช่วงหนึ่งคือเรืองที่เกิดขึ้นที่เมืองอาซาฮิกาวะ จังหวัดฮอกไกโด ในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เด็กผู้หญิง นามสมมติว่าน้องเอ อยู่ระดับชั้น ม.ต้น อายุ 14 ปี ถูกพบว่าแข็งตายในสวนสาธารณะแห่งหนึ่ง5 หลังจากที่ผู้ปกครองได้แจ้งความคนหายไปแล้วกว่าหนึ่งเดือน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่อากาศหนาวมากที่สุดของปี โดยวันที่เธอหายไปที่นั้นมีอุณหภูมิถึง -17 องศา เหตุการณ์นี้มีที่มาจากการถูกกลั่นแกล้งรังแกหรือการถูกบูลลี่ (Bully) ที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนที่น้องเอได้เข้าเรียนชั้นมัธยมต้นใหม่ๆ กลุ่มนักเรียนชายและหญิงจำนวนหนึ่งที่รังแกเธอเป็นประจำได้บังคับให้เธอส่งรูปและวีดิโออนาจารของตนเองไปให้พวกเขา และรูปเหล่านั้นก็ได้ถูกส่งต่อไปยังหลายกลุ่มแชท หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่กระทบต่อจิตใจเธอมากที่สุดคือการที่กลุ่มเด็กบูลลี่เหล่านี้บังคับให้เธอทำสิ่งอนาจารต่อหน้าพวกเขา หลังจากเหตุการณ์นี้ น้องเอพยายามฆ่าตัวตายโดยการกระโดดลงแม่น้ำเมื่อปี 2562 แต่เด็กกลุ่มนี้ก็ได้โทรแจ้ง 1106 ว่า น้องเอกระโดดลงน้ำฆ่าตัวตาย โดยให้เหตุผลว่าเพราะถูกคุณแม่ทำร้ายร่างกาย ซึ่งทำให้คุณแม่น้องเอถูกตำรวจกีดกันไม่ให้เข้าไปเยี่ยมลูกได้ แต่เด็กเหล่านี้ทำตัวน่าสงสัยเพราะบอกตำรวจว่าเป็นเพื่อนกับน้องเอแต่ไม่เคยส่งข้อความหรือมาเยี่ยมเยียนเลย ตำรวจจึงทำการสอบสวน และพบหลักฐานในมือถือว่ามีรูปอนาจารอยู่จริง อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ผู้กระทำผิดมีอายุน้อย กฎหมายจึงไม่สามารถทำอะไรเด็กพวกนี้ได้ ภายหลังจากน้องเอฟื้นตัวแล้ว คุณหมอได้วินิจฉัยว่า น้องเอมีโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder: PTSD) จากการถูกบูลลี่อย่างต่อเนื่อง หลังจากเหตุการณ์นี้ น้องเอได้แต่หมกตัวอยู่ในบ้าน จนกระทั่งวันที่เธอหายตัวไปกระทันหันและถูกพบว่าเสียชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ในตอนแรกทางโรงเรียนไม่ยอมรับว่าการฆ่าตัวตายของเธอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบูลลี่ในโรงเรียน ก่อนที่จะโดนร้องเรียนและออกมายอมรับในภายหลัง เรื่องนี้ถูกรายงานว่า น้องเอเคยพยายามบอกกับคุณครูว่าโดนรังแก แม่เองก็เคยไปปรึกษาคุณครู แต่คุณครูกลับบอกว่า ไม่มีอะไร แถมยังเอาเรื่องที่น้องเอมาฟ้องไปเล่าให้เด็กกลุ่มนั้นฟังอีกด้วย

ผู้เขียนมิอาจรู้สาเหตุของการฆ่าตัวตายทั้งหมดได้ว่าเกิดจากอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนสัมผัสได้จากสังคมญี่ปุ่นคือ แม้จะพบว่าใครมีปัญหา หรือทำตัวแปลกแยกจากผู้อื่น มักไม่มีใครอยากช่วยเหลือหรือเข้าไปคุยกับเขา

วันหนึ่งในห้องเรียนของผู้เขียน ขณะที่อาจารย์สอนอยู่ มีนักศึกษาชายชาวญี่ปุ่นตัวผอมสูงคนหนึ่งเดินออกมาหน้าห้อง ทำท่าเหมือนจะไปเข้าห้องน้ำ แต่จู่ๆ เขาก็เข่าอ่อนพับลงแล้ววูบลงไปสลบอยู่ตรงหน้าประตูชั้นเรียน ขณะนั้นผู้เขียนนั่งอยู่แถวเกือบหน้าสุดแต่นั่งอยู่เกือบตรงกลางไม่สามารถลุกทันทีได้เมื่อเทียบเพื่อนคนที่นั่งตรงปลายแถวของแถวหน้าสุด แต่ก็ไม่มีใครลุกไปหาเขา อาจารย์ที่กำลังหันหน้าเข้าหากระดานดำก็เหมือนจะไม่ได้สังเกตเห็น ขณะที่ผู้เขียนรีบรุดไปช่วยเขา อาจารย์หันมาและสังเกตได้ว่ามีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้น จึงใช้โทรศัพท์ของห้องเรียนติดต่อห้องพยาบาล ขณะที่ผู้เขียนพยายามเรียกสติและประคองหัวของนักศึกษาหนุ่มที่หน้าซีดและกำลังหมดสติ ก็พบว่านักศึกษาอินโดนีเซียที่นั่งอยู่แถวหลังสุดของห้องก็วิ่งออกมาช่วยดูเหตุการณ์ ส่วนที่เหลืออีกร้อยชีวิตนั้นนั่งนิ่ง จากนั้น อาจารย์ที่เพิ่งวางสายจากห้องพยาบาลหันมาบอกว่าเดี๋ยวจะมีวีลแชร์มารับ พูดเสร็จแล้วก็ทำการสอนต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น เวลาผ่านไปไม่ถึงสามนาที ได้มีเจ้าหน้าที่คนหนึ่งมาพร้อมรถเข็น เราสองคนจึงช่วยกันประคองหนุ่มหมดสติขึ้นรถเข็นพาไปส่งถึงหน้าลิฟต์เพราะเจ้าหน้าที่บอกว่าเขาสามารถเข็นไปเองคนเดียวได้ เมื่อเราสองคนกลับมาก็เห็นว่าห้องเรียนอยู่ในสภาพเดิมเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น อาจารย์แค่หันมาขอบคุณคำเดียวแล้วก็สอนต่อ แม้ว่าเสร็จจากคลาสเรียนแล้วก็ไม่มีใครมาถามสักคนว่าเป็นอะไรยังไงบ้าง ผู้เขียนรู้สึกตกใจกับเรื่องนี้มาก จึงถามเพื่อนคนญี่ปุ่นที่สนิทกันและนั่งข้างๆ ผู้เขียนตอนนั้นว่า คนญี่ปุ่นคิดอะไรอยู่ ทำไมถึงไม่มีใครลุกไปช่วยคำตอบของเพื่อนยังคงอยู่ในใจของผู้เขียนจนทุกวันนี้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเกือบสิบปีแล้ว เพื่อนบอกว่า “ไม่ใช่ว่าเราไม่แคร์นะหรือไม่รู้สึกนะ แต่เราคิดว่าไม่ต้องเป็นเราหรอก เราไม่อยากเด่น เขาอาจจะป่วย แต่นั่นเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา เราไม่ชอบไปยุ่งเรื่องส่วนตัว ไม่ชอบเด่นในที่สาธารณะแบบนี้”

“ความเป็นส่วนตัว” มีข้อดีของมันคือ เราเคารพต่อกัน ไม่ก้าวก่ายกัน แต่การให้ความสำคัญกับความส่วนตัวที่มากเกินไปได้นำไปสู่การขาดความเห็นอกเห็นใจในเพื่อนมนุษย์ ผู้เขียนมองว่าสิ่งเหล่านี้ได้กลายเป็น “ความเห็นแก่ตัว”  และขาดความสำนึกในการอยู่ร่วมกันในสังคม สังคมในการทำงานก็เช่นกัน จากที่คุยกับเพื่อนคนญี่ปุ่นมา หลายคนนั้นมีความชัดเจนว่า เวลางานก็คืองาน พอพักเที่ยงก็ปลีกตัวไปกินข้าวอยู่คนเดียว สร้างความสัมพันธ์ในที่ทำงานเท่าที่จำเป็น และยังมองว่าเพื่อนร่วมงานนั้นไม่ถือว่าเป็น “เพื่อน” อีกด้วย

ผู้เขียนรู้สึกว่า การที่คนๆ หนึ่งต้องระวังเส้นแบ่งของ “ตนเอง” ไม่ให้ก้าวทับไปในเส้นของ “คนอื่น” ซึ่งถูกมองว่าเป็นการเคารพสิทธิส่วนบุคคลนั้น ก่อให้เกิดความเครียด ในเมื่อมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เหตุใดเราจึงต้องมีเส้นแบ่งที่ชัดเจนนี้ด้วย นักสังคมวิทยาท่านหนึ่งนามว่า Anthony Giddensได้กล่าวไว้ในหนังสือ Modernity and Self-Identity  (1991, pp.74-75) ว่า “ปัจเจกนิยม (Individualism) นั้นไม่เคยมีในยุคสังคมก่อนสมัยใหม่ (pre-modern society) แต่เพิ่งมีหลังจากการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม (industrialization)ในโลกตะวันตก… ตัวบุคคล (individual) นั้นย่อมเป็นบุคคลได้เพราะว่าเขามีเส้นใยเชื่อมโยงกับสังคมที่สร้างเขาขึ้นมา” 7  ถ้าสังคมเราให้ที่กับ “เรื่องส่วนตัว” มากเกินไป แล้วบุคคลในสังคมนั้นจะยังคนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมอยู่อีกหรือ? มนุษย์จะกลายเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่เห็นแก่ตัวมาอยู่รวมกันแต่ไม่มีความสัมพันธ์กับสังคมได้หรือ?

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.theprachakorn.com/newsDetail.php?id=731

ประชา หุตานุวัตร : “เรากำลังทำเรื่องเปลี่ยนแปลงคุณค่าพื้นฐานของสังคม”​

ประชา หุตานุวัตร : "เรากำลังทำเรื่องเปลี่ยนแปลงคุณค่าพื้นฐานของสังคม"

ผู้เขียน : กษิดิศ อนันทนาธร

ข้อความบางส่วนจากบทความ “ประชา หุตานุวัตร : ปัญญาชนขบถ ผู้เพียรสร้างกระบวนทัศน์ใหม่” https://www.the101.world/pracha-hutanuwatra/

ขอบคุณภาพจาก บริษัท เคล็ดไทย จำกัด
https://kledthai.com/9786168209585.html

ผมเป็นนักเรียน นักเขียน นักแปล และเป็นกระบวนกร หน้าที่หลักคือการเปลี่ยนแปลงตนเองและสังคม ให้ก้าวไปสู่ความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และยั่งยืน ผมทำงานนี้มาตลอดชีวิตตั้งแต่มัธยมปลาย และตั้งใจที่จะตายคางานนี้

ประชา หุตานุวัตร เคยพูดถึงชีวิตของตนเองเอาไว้อย่างน่าสนใจ

และเขาก็ได้ตายคางานที่เขาทำไว้เช่นนั้นจริงๆ

แต่ผลงานของประชาที่สร้างไว้จะคงอยู่ไปอีกนานเท่านาน ดังที่ Jane Rasbash อดีตคู่ชีวิตของประชาเขียนถึงเขาว่า “Pracha’s unique contributions to engaged spirituality and social change will continue through his writing, projects and student.”

ในยุคแสวงหา ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น ประชาร่วมกับเพื่อนนักเรียนตั้งกลุ่ม ‘ยุวชนสยาม’ ขึ้นในปี 2515 รวบรวมนักเรียนหัวก้าวหน้าอันเป็นนักกิจกรรมจากโรงเรียนต่างๆ ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ค่ายฝึกกำลังคน วารสาร กลุ่มสนทนา และร่วมประท้วงในหลายเหตุการณ์ มีสมาชิก อาทิ สันติสุข โสภณสิริ, วิศิษฐ์ วังวิญญู, ธงชัย วินิจจะกูล, สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานต์ และไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์

โดยพิภพ ธงไชย ตั้งข้อสังเกตว่า “คนรุ่นใหม่ในกลุ่มยุวชนสยาม เมื่อ 50 ปีก่อน ล้วนเลือกที่จะ ‘ขบถต่อตัวเอง’ และ ‘สังคมที่ตนดำรงอยู่’

จากที่สนใจความคิดฝ่ายซ้ายที่นิยมมาร์กซ์ ต่อมาในปี 2517 ประชาหันมาสมาทานอหิงสาและพุทธธรรม ดังได้ร่วมกับวิศิษฐ์และสันติสุขตั้งกลุ่ม ‘อหิงสา’ เพื่อแยกจากกระแสส่วนใหญ่ในเวลานั้นที่นิยมมาร์กซ์อย่างเข้มข้น

แม้ประชาจะเรียนเก่งเป็นอันดับต้นๆ ของรุ่น เขากลับไม่ได้เลือกเรียนแพทย์หรือวิศวะตามกระแสหลัก แต่เลือกเรียนครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากครูโกมล คีมทอง ผู้ล่วงลับ แต่แล้วยังไม่ทันเรียนจบ ประชาก็ลาออกเพื่อดำเนินชีวิต ‘ขบถ’ กับเพื่อนในกลุ่มอหิงสา ซึ่งเชื่อมั่นในแนวทางสันติวิธี และไม่สยบยอมกับคำตอบสำเร็จรูปจากลัทธิที่สัญญาว่าจะให้ความหวังใหม่

สำหรับชีวิตการเรียนของประชานั้น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เขียนถึงว่า “ผมมีความทรงจำที่ดีต่อพี่ประชา เป็นคนแรกที่ให้แรงบันดาลใจกับผม ผมรู้สึกประทับใจมาก คนที่เรียนเก่งมากอย่างนั้น กลับเลือกสอบเข้าครุ แล้วก็ลาออก”

ขณะที่พระไพศาล วิสาโล เขียนรำลึกถึงประชาว่า “ข้าพเจ้าโชคดีที่ได้รู้จักพี่ประชาขณะที่ยังเยาว์วัย เพราะได้เห็นแบบอย่างแห่งผู้ที่อุทิศตนเพื่ออุดมคติ ในช่วงที่ข้าพเจ้ากำลังแสวงหาความหมายของชีวิตอยู่พอดี

ในปี 2518 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองทวีความรุนแรงขึ้น จากเดิมที่ประชาคิดว่าจะเข้าป่าหรือไปเมืองจีน ก็เปลี่ยนใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

ส. ศิวรักษ์ เล่าถึงการบวชของประชาไว้ว่า “แต่แล้วความเปลี่ยนแปลงของเขาทางด้านกิจกรรมฝ่ายซ้ายก็เป็นเหตุให้ปัญญานันทภิกขุปฏิเสธที่จะบวชให้เขา ข้าพเจ้าจึงฝากเขาไปยังพระสด ซึ่งเคยเรียนที่ธรรมศาสตร์กับข้าพเจ้า และต้องการอุทิศชีวิตทั้งหมดเพื่อการพระศาสนา พระสดพาประชาไปหาเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นอุปัชฌาย์บวชให้เขา และเขาก็เข้าไปอาศัยสวนโมกขพลารามอยู่เป็นเวลากว่าทศวรรษ

อนุสรณ์อันเป็นรูปธรรมาจากชีวิตสมณเพศของพระประชา ปสนฺนธมฺโม คือการสัมภาษณ์พระมหาเงื่อม อินฺทปญฺโญ จนสำเร็จออกมาในชื่อ เล่าไว้ในวัยสนธยา ซึ่งคำถาม การจับประเด็น และการนำเสนอตัวตนของพุทธทาสภิกขุออกมานั้น ทำออกมาได้อย่างที่ไม่มีใครเสมอเหมือน อีกเล่มหนึ่ง คือ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ที่แปลมาจากงานของติช นัท ฮันห์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเล่มแรกของท่านนัท ฮันห์ ในบรรณพิภพไทย และเมื่อปี 2565 เพิ่งพิมพ์ครั้งที่ 28 ออกมาวางจำหน่าย

ในทางวิถีชีวิตนั้น พระไพศาล วิสาโล กล่าวถึงพระประชาว่า “ข้าพเจ้าเอง…ได้รับอิทธิพลจากข้อคิดและงานเขียนของพี่ประชามิใช่น้อย โดยเฉพาะในช่วงที่พี่ประชาใช้ชีวิตทวนกระแสในเพศสมณะ ถ้าพี่ประชาไม่ได้ก้าวเดินบนเส้นทางนี้มาก่อน ข้าพเจ้าอาจไม่ได้บวชมาจนถึงวันนี้

ในปี 2532 ประชาร่วมก่อตั้งเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์นานาชาติเพื่อสังคม (International Network of Engaged Buddhists: INEB) เพื่อเชื่อมโยงนักกิจกรรมชาวพุทธและผู้นำจากศาสนาอื่นในหลายประเทศมาแลกเปลี่ยนและสนับสนุนการทำงานเพื่อสังคมระยะยาว

หลังจากไปเรียนหลักสูตรสำหรับนักฝึกอบรมจนจบขั้นสูงสุดจาก A Movement for Society สหรัฐอเมริกา ประชานำหลักสูตรนี้มาประยุกต์กับพุทธกระบวนทัศน์ให้สมสมัย ใช้ในกระบวนการฝึกอบรมต่างๆ และได้ทำโครงการฝึกอบรมผู้นำระดับรากหญ้า (Grassroots Leadership Training: GLT) กับคนไทยและคนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเสมสิกขาลัย ภายใต้มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป

อีกองค์กรหนึ่งภายใต้ฉายาของมูลนิธิเสฐียรโกเศศฯ คือ อาศรมวงศ์สนิท คลอง 15 จังหวัดนครนายก นั้น ประชาก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสำคัญในการสร้างพื้นที่ทดลองใช้ชีวิตของนักกิจกรรมทางสังคม มุ่งสร้างชุมชนวิถีทางเลือกใหม่ นอกจากนี้ ประชายังเคยใช้ชีวิตที่ฟินด์ฮอร์น ซึ่งเป็นชุมชนทางเลือกในทางเหนือของสกอตแลนด์อีกด้วย

ในปี 2548 ด้วยแนวคิดของพุทธทาสภิกขุที่ว่า “ศีลธรรมของเยาวชนคือสันติภาพของโลก” ประชาตั้งสถาบันยุวโพธิชน เพื่อเป็นสถาบันพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชนและจัดกระบวนการเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่ และเป็นการสร้างนิเวศทางการศึกษาหล่อหลอมคนรุ่นใหม่

นอกจากนั้น ประชายังมีส่วนร่วมก่อตั้งมูลนิธิสัมมาชีพ ที่มุ่งจะมีส่วนในการจัดการศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมในหมู่นักธุรกิจและนักการเมือง ทั้งยังตั้งชุมชนนิเวศเอเชีย (Ecovillage Transition Era: ETA) ที่ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนเมืองให้น่าอยู่ และการขับเคลื่อนเรื่องมนุษย์กับธรรมชาติที่เน้นความยั่งยืนของระบบนิเวศ

ในช่วงท้ายของชีวิต ประชามุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมผ่านการเจาะไปที่คุณค่าพื้นฐาน จึงตั้งหลักสูตรผู้นำกระบวนทัศน์ใหม่ (Awakening Leadership Training: ALT)

วราภรณ์ หลวงมณี ที่ทำงานกับประชามาถึง 16 ปี เคยถามประชาว่า “คุณค่าของงานที่เรากำลังทำอยู่คืออะไร ใช่เรากำลังขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมหรือไม่” ประชาตอบว่า “เราไม่สามารถทำขนาดนั้นได้หรอก แต่เรากำลังทำเรื่องเปลี่ยนแปลงคุณค่าพื้นฐานของสังคม” ในความหมายที่ว่าเปลี่ยนสังคมวัตถุนิยมเป็นสังคมที่มีจิตวิญญาณ เปลี่ยนสังคมที่เอารัดเอาเปรียบมาเป็นมิตรกับธรรมชาติ เปลี่ยนสังคมที่แก่งแย่งแข่งขันเป็นเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเปลี่ยนสังคมที่บูชาความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุสู่สังคมที่มีสมดุลของคุณภาพชีวิตและเลือกสรรเทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด

นอกจากนั้น ประชายังสัมภาษณ์ ส. ศิวรักษ์ เผยแพร่ในโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบคิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแสวงหาความรู้ เรื่องความยุติธรรม และที่ได้รับความนิยมมาก คือ ชุดประวัติศาสตร์ ทั้งจักรีปริทัศน์ การอภิวัฒน์ 2475 และการเมืองไทยร่วมสมัย ดังที่พิภพ ธงไชย ตั้งข้อสังเกตว่า “งานช่วงหลังที่ประชาทุ่มเททำ คือ การเสนอศักยภาพในตัวครูของตน โดยเฉพาะบทสัมภาษณ์… 

ไม่เพียงเท่านั้น ประชายังตั้งสำนักพิมพ์เสมสิกขาลัยขึ้นมาเผยแพร่ความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ อย่างขยันขันแข็ง ไม่ว่าจะเป็นประวัติบุคคล แนวความคิดพื้นฐานในด้านต่างๆ (แม้บางเล่มอาจจะผิดพลาดไปบ้าง หรือยังไม่ถึงกับเป็นเลิศ แต่ก็นับเป็นอุปกรณ์เบื้องต้นสำหรับการแสวงหาความรู้ขั้นต้นในด้านนั้นๆ ได้) และการนำหนังสือคลาสสิกหลายเล่มกลับมาพิมพ์ใหม่ เช่น จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ และ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ เป็นต้น

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ : https://www.the101.world/pracha-hutanuwatra/

คนไทย ไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียม​

คนไทย ไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียม

ผู้เขียน : ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2567 คอลัมน์ ฝนไม่ถึงดิน

มีประเด็นเรื่องราวถกเถียงในโลกออนไลน์ จากประเด็นปรัชญาพื้นฐานว่า “มนุษย์เท่าเทียมกันหรือไม่”

โดยนักวิชาการด้านปรัชญาได้ตั้งข้อสังเกตว่าทุกครั้งที่คนกลุ่มที่สนับสนุนความไม่เท่าเทียมมักจะให้เหตุผลคือ “นิ้วมือยังไม่เท่ากันเลย แล้วคนจะเท่ากันได้อย่างไร” ซึ่งเป็นคำอธิบายอมตะเพื่อปฏิเสธการสร้างสังคมที่ยุติธรรม

เมื่อคลิปการสนทนาดังกล่าวเผยแพร่ออดไป ผมเองก็แปลกใจไม่น้อยที่มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมากออกมาวิพากษ์วิจารณ์คลิปดังกล่าว ในลักษณะ “การสนับสนุนความไม่เท่าเทียม” หรือมองว่า “ความไม่เท่าเทียมกันเป็นเรื่องปกติ” โดยปรากฏความเห็นลักษณะดังกล่าวจำนวนมาก

จนผมเชื่อว่าผู้คนที่ปรารถนาความเท่าเทียมซึ่งมีจำนวนไม่น้อยเช่นกันพออ่านแล้วคงเกิดภาวะ “จิตตก” และตั้งคำถามเหมือนกันว่า “สังคมเราเป็นกันขนาดนี้เลยหรือ”

ในบทความนี้ผมจะชวนวิเคราะห์ ถึงความเห็นที่สนับสนุนความ “ไม่เท่าเทียม” ที่กระจายในโลกออนไลน์ต่างกรรมต่างวาระ

และชวนมองอีกมุมว่าในโลกจริงผู้คนไม่ได้มีความคิดสุดโต่งต่อการสนับสนุน “ความเหลื่อมล้ำขนาดนั้น”

“คนไทยน่าจะเชื่อเรื่องผีมากกว่าเรื่องความเท่าเทียมเสียอีก” มิตรสหายท่านหนึ่งกล่าวในลักษณะติดตลก

ซึ่งฟังดูแล้วก็จริง แม้ผีจะไม่มีจริง แต่ผู้คนก็มีพิธีกรรมเพื่อยืนยันว่ามันมีจริง และยังมีกระบวนการปกป้องการมีจริงของผี

ขณะเดียวกันความเท่าเทียมแม้จะเป็นนามธรรมเหมือนกัน แต่ก็ปรากฏในรัฐธรรมนูญแทบทุกประเทศ ในกฎหมายหลายฉบับ รวมถึงคำโปรยในอนุสาวรีย์ และประวัติศาสตร์แทบทุกประเทศว่า มนุษย์แต่ละยุคสมัยยอมอุทิศทุกอย่างเพื่อ “ความเท่าเทียม”

แต่ตรงกันข้ามดูเหมือน คนทั่วไปจะเชื่อเรื่องผีที่ทางการล้วนยืนยันว่าไม่มีจริง มากกว่าความเท่าเทียมที่ถูกรับรองในกฎหมายแทบทุกประเทศ

ประการแรกอาจเป็นความไม่รู้เรื่องสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน หรือคำว่าเท่าเทียมไม่จำเป็นต้องหมายถึงใส่เสื้อสีเดียวกัน กินอาหารแบบเดียวกัน แต่คือการได้รับการปฏิบัติเยี่ยงมนุษย์ที่เท่ากัน การได้รับโอกาสพื้นฐาน เท่ากัน รวมถึงการปฏิบัติจากรัฐและสังคมที่เท่าเทียมกัน

หากวิเคราะห์การที่คนกลุ่มหนึ่งปฏิเสธความเท่าเทียมก็อาจมีที่มาจากสามเหตุผล

ประสบการณ์ส่วนตัว บางครั้งความเชื่อในความเท่าเทียมหรือไม่เชื่อนั้นสามารถมาจากประสบการณ์ส่วนตัวของบุคคล หากบุคคลมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับความเท่าเทียม เช่น ประสบการณ์การถูกเลือกปฏิเสธ หรือประสบการณ์ที่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา หรือวัฒนธรรม อาจส่งผลให้พวกเขาเกิดความไม่เชื่อใจในความเท่าเทียม

อำนาจและประโยชน์ส่วนตัว บางครั้งการเชื่อในความเท่าเทียมอาจถูกกลไกของอำนาจและประโยชน์ส่วนตัวที่ต่างหากกันขัดขวาง เช่น บางกลุ่มหรือบุคคลอาจไม่เชื่อในความเท่าเทียมเพราะการเสียสิทธิหรือสิทธิประโยชน์ที่พวกเขาได้รับจากสถาบันหรือระบบที่กีดกันความเท่าเทียม

ความเชื่อ ความเชื่อและมุมมองทางสังคมมีอิทธิพลอย่างมากต่อทัศนคติของบุคคลต่อความเท่าเทียม บางครั้งความเชื่อทางสังคมที่ถูกฝังในวัฒนธรรมหรือครอบครัวอาจส่งผลให้บุคคลมองเห็นความเท่าเทียมในมุมมองที่แตกต่างไปจากที่มันมีอยู่ในวัฒนธรรมหรือครอบครัวของพวกเขา ตัวอย่างเช่น ความเชื่อทางศาสนาหรือความเชื่อทางการเมืองที่ส่งผลให้มีการสร้างแบ่งแยกขัดแย้งในสังคมและการปกปิดปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับความเท่าเทียม

ดังนั้น แม้ในปัจจุบันก็ยังพอนึกภาพออกได้ว่าทำไมจะมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เชื่อเรื่องความเท่าเทียม และนอกจากไม่เชื่อแล้วยังเป็นผู้กีดขวาง แม้ว่าตัวเองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรจากสังคมที่อยุติธรรมนี้

แต่คำถามคือมันมีคนจำนวนมากขนาดนั้น ที่ปฏิเสธความเท่าเทียมจริงหรือ

ผมคงตอบสั้นๆ ว่า “ไม่ใช่”

ตามปกติแล้วกับทุกเรื่องที่ปรากฏในโลกออนไลน์ คนที่ไม่เห็นด้วย มักเสียงดังมากกว่า และด้วยความเป็นโลกออนไลน์ การแสดงความเห็นต่างๆ สามารถทำได้รวดเร็ว บ่อยครั้งความเห็นที่ดูชัดเจนและเร็ว สามารถชักนำคนกลางๆ ให้เงียบ หรือไม่กล้าแสดงความเห็น และดึงดูดให้คนที่คล้อยตามแม้จะเล็กน้อยไม่ทั้งหมด ให้สนับสนุน

ผมเคยสนทนากับคนที่ดูจะมีความเห็นดุเดือดในโลกออนไลน์ว่า เขามีความคิดขนาดนั้นเลยหรือ ที่ต่อต้านเรื่องสวัสดิการ ต่อต้านขนส่งสาธารณะ ต่อต้านการเก็บภาษีคนรวย

คุยไปคุยมาผมก็พบว่าเขาไม่ได้มีความคิดสุดโต่งขนาดนั้น

สาเหตุที่แสดงความคิดเห็นแบบนั้นไป ก็เป็นเรื่องความสนุก มีผู้คนเยอะ และยิ่งการแสดงความคิดเห็น ในลักษณะการปฏิเสธประโยชน์ที่ตนได้รับ หรือคนที่ลำบากส่วนใหญ่เรียกร้อง เช่น การได้ด่าผู้หญิงที่อยากลาคลอด ได้ด่าแรงงานที่อยากขึ้นค่าแรง ได้ด่าคนแก่ที่อยากได้เงินบำนาญ ด่านักศึกษาที่อยากเรียนมหาวิทยาลัยฟรี บางครั้งก็ทำให้พวกเขารู้สึกจริงๆ ว่าเหมือนได้เป็นชนชั้นนำในภาพยนตร์ที่พวกเขาคุ้นเคย คือดูฉลาดและมีอำนาจ!

เหตุผลมันฟังดูประหลาด แต่มันก็มีลักษณะแบบนี้เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในอารมณ์ความรู้สึกคน ที่มีหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อารมณ์แบบนี้เกิดขึ้นนับเป็นเรื่องปกติ

วันรุ่งขึ้นพวกเขาก็ไปสนุกกับเรื่องอื่น ขณะที่โลกยังเหลื่อมล้ำต่อไป

แต่จากประสบการณ์ของผม ทั้งในการสอนหนังสือ รณรงค์ และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลายทุกช่วงวัย ทุกระดับ เด็กๆ นักเรียนก็ปรารถนาสังคมที่ยุติธรรม ที่ทำให้พวกเขาวิ่งตามความฝันเต็มที่

คนเริ่มทำงานก็ปรารถนาค่าจ้างที่เป็นธรรมเพื่อให้พวกเขาเริ่มชีวิต

คนมีครอบครัวก็ปรารถนาการรักษาพยาบาลที่ดี การศึกษาที่ดี

คนชราก็ปรารถนาเงินบำนาญ และหลักประกันในชีวิต

คนที่จนที่สุดก็ยังปรารถนาสังคมที่ยุติธรรม

แม้แต่เศรษฐีหมื่นล้านก็รู้ว่าสังคมที่อยุติธรรม ไม่ดีต่อชีวิตของพวกเขา

เวลาที่มีคนต่อต้านเรื่องพวกนี้ มหาวิทยาลัยฟรี เงินบำนาญ ค่าจ้างที่เป็นธรรม สิทธิการรวมตัวของคนทุกชนชั้น ถ้าไม่ด้วยความไม่รู้ เสียประโยชน์ (ซึ่งก็ไม่ใช่) ก็มีอีกหนึ่งเหตุผล คือพวกเขาตระหนักว่าเรื่องพวกนี้เป็นจริงได้ และแค่กำลังกลัวว่ามันจะเป็นจริง

แต่ไม่ว่าเราจะชอบหรือชัง โลกจะหมุนสู่ความก้าวหน้ามากขึ้น เท่าเทียมมากขึ้นอยู่ดี ยังคงเป็นภารกิจสำคัญของคนทุกยุคที่ต้องช่วยการสื่อสารทุกโอกาสว่า

“มนุษย์เราคู่ควรกับสังคมที่ยุติธรรมมากขึ้น”

Ecodharma ธรรมนิเวศ : อนาคตสรรพสิ่งในโลกที่กำลังเดือด

Ecodharma
ธรรมนิเวศ : อนาคตสรรพสิ่งในโลกที่กำลังเดือด

The 29th Annual Sem Pringpuangkeo Public Lecture

by David R. Loy

Monday, 26th February 2024,
Sathirakoses-Nagapradipa Foundation, Bangkok

ปาฐกถาเสม พริ้งพวงแก้ว เรื่อง “Ecodharma ธรรมนิเวศ : อนาคตสรรพสิ่งในโลกที่กำลังเดือด โดย David R. Loy นักเขียนและธรรมาจารย์เซนชาวอเมริกัน และแปลภาษา โดย อัญชลี คุรุธัช (ดูย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/watch/?v=1137380174367408 )

เพื่อนมอญในแชตเริ่มด้วยคำถามว่า ทำไมตั้งชื่องานว่า Global Boiling? พอกลับมาดูชื่อหนังสือของ อ.เดวิด มันก็เขียนเพียงว่า Ecodharma: Buddhist Teachings for the Ecological Crisis ส่วนตัวเดาว่า การเลือกใช้ โลกเดือด น่าจะสอดคล้องกับสภาวะโกลาหล สงครามและโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหลาย ๆ พื้นที่ และการพยายามให้นิยาม climate change ที่ดูเหมือนจะหาคำแปลไทยที่มากกว่าโลกร้อนไม่ได้สักที

อ.เดวิด เปิดประเด็นด้วยบทสนทนาที่ลูกศิษย์ถามธรรมาจารย์เซนว่า ควรจะปฏิบัติอย่างไรในยามลำบาก ธรรมาจารย์เซนบอกว่าให้โอบรับและต้อนรับด้วยการตอบสนองอย่างเหมาะสม “embrace and welcome difficult times by responding appropriately”

อ.เดวิด เสนอว่า ในยามวิกฤตทางนิเวศ พุทธศาสนา Buddhism มีคำสอนที่สามารถเอามาปรับประยุกต์เพื่อเผชิญหน้ากับวิกฤติและความทุกข์ยากได้เช่นกัน หากเราไม่แบ่งแยกมหานิกายกับเถรวาทออกจากกัน “เส้นทางพระโพธิสัตว์ bodhisattva path” ที่สอนให้กระทำการโดยไม่ยึดติดกับผลลัพธ์ acting without attachment to the results น่าจะเป็นหนึ่งแนวทางที่น่านำเสนอให้กับโลกมนุษย์ แต่นี่ไม่ใช่การแนะนำว่าควรทำอะไร แต่เป็นการนำเสนอว่าน่าจะทำอย่างไร Buddhist teachings do not tell us what to do, but they tell us a lot about **how** to do it

แต่ด้วยบริบทและช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้าดำรงอยู่นั้น ช่างแตกต่างกับปัจจุบัน อีกทั้งหลักคำสอนของพุทธเองก็ไม่เคยหยุดนิ่ง ปรับเปลี่ยนและลื่นไหลไปตามสภาวะและค่านิยมของสังคมนั้น ๆ ดังนั้น ยามวิกฤตที่เรากำลังเผชิญอยู่ก็ท้าทายศาสนาพุทธให้ปรับตัวเช่นกัน

อ.เดวิด เสนอแนวคำสอน 3 ประการ

(1) โอบรับทั้งการเปลี่ยนแปลงภายในและเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกภายนอก โดยไม่แบ่งแยกโลกออกเป็นสองขั้ว nonduality เพราะการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโลกก็เป็นกระบวนการสำคัญในการตื่นรู้ เป็นการนำสิ่งที่ปัจเจกภาวนาไปลงมือปฏิบัติจริง “Engagement in the world is how our individual awakening blossoms, and contemplative practices such as meditation ground our activism, transforming it into a spiritual path.”

(2) ทุกข์ที่มากกว่าปัจเจก ทุกข์ระดับสถาบัน Dukha are not only personal sufferings but now they are institutionalized บริบทที่แตกต่างทำให้เราต้องปรับความเข้าใจว่า ทุกข์ ในวันนี้เป็นอย่างไร ในอดีตพุทธศาสนาเป็นความเชื่อของผู้คนจำนวนเล็กน้อย แต่ศาสนาจะถูกเผยแพร่ได้กว้างไกลก็ต้องอิงกับอำนาจใหญ่ของสังคม ข้อจำกัดนี้อาจทำให้พุทธศาสนากลายเป็นหลักคำสอนที่โฟกัสกับปัจเจกเป็นหลัก แต่เหตุแห่งทุกข์อันได้แก่ โลภ โกรธ หลง กลายเป็นปัญหาทุกข์ยากระดับโครงสร้าง อ.เดวิด เสนอว่า พุทธเคยมีภิกษุณีสังฆะที่เข้มแข็ง เคยเป็นสิ่งที่ช่วยให้คนจัณฑาลปลดแอกจากระบบวรรณะ ดังนั้น หากเราสามารถเสริมความเข้มแข็งของสังฆะและชุมชน จะเป็นการถักทอความสัมพันธ์ให้ปัจเจกมุ่งปฏิบัติทั้งเพื่อตัวเองและผู้อื่นได้เช่นกัน อ.เดวิด ยกคำพูดของนักรณรงค์โลกร้อน Bill McKibben ที่เสนอให้รวมกลุ่ม “the most important thing an individual can do, is be a little less of an individual and join together with others in movements large enough to make change.”

(3) nirasa นิรสา แปลว่า ไม่คาดหวัง without expectations or hope แน่นอนผลลัพธ์ของการกระทำนั้นสำคัญ แต่เราไม่ควรยึดติดกับผลลัพธ์ results are important but not to attach ความไม่ยึดติดดังกล่าว ทำให้เราไม่รู้ และจิตที่ไม่รู้ “don’t know mind” จะยืดหยุ่นกว่า เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และบ่มเพาะพลังภายใน (empower) มากกว่าจิตที่รู้ ที่มักปิดกั้นและยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยเฉพาะความเป็นคู่ตรงข้าม เช่น ความสิ้นหวัง / ความหวัง despair / hope ที่หล่อเลี้ยงกันและกันและทำให้เรายึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

อ.เดวิด ยกคำกล่าวจากอนุสรณ์รำลึกผู้เสียชีวิตในช่วง 9/11 มาเป็นเครื่องเตือนใจว่า “Grief is the price we pay for love” ความอาลัยเศร้าโศกคือราคาที่เราต้องจ่ายเพื่อความรัก หากเรามองว่า สิ่งที่ต่างจาก despair ความสิ้นหวัง คือ grief ความโศกเศร้า เราจะเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง ไม่ยึดติด ตัวเราจะชัดขึ้นว่าสิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต

การภาวนาและฝึกสมาธิ meditation เป็นหนึ่งในสิ่งที่พุทธศาสนาเสนอว่าเราจะโอบรับความยากลำบากอย่างไร การไม่ยึดติดและตระหนักถึงความไม่จีรังอันเป็นธรรมชาติของโลก ชวนให้เราตระหนักรู้ถึงสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงตัวเรากับสรรพสิ่ง แทนที่ตัดขาดตัวเราจากสรรพสิ่ง การแบ่งแยกตัวเราจากสายใยชีวิตต่างหากที่เอื้อให้ความโลภ โกรธ หลงเกาะกินเราจนทำให้เราเห็นเพียงความสิ้นหวัง พังทลาย

ตลอดเวลาที่ฟังปาฐกถเสม แพรนึกถึงคำว่า response-ability ของกลุ่มนักคิดสตรีนิยมหลากสายพันธุ์ feminist multispecies scholars เช่น Donna Haraway เด้งขึ้นมาทันที มันเป็นการเล่นคำกับ response การตอบสนอง/ตอบกลับ และ responsibility ความรับผิดชอบ ที่เมื่อเรารับรู้และรู้สึกกับสายสัมพันธ์ที่เรามีกับสิ่งอื่น ๆ และตระหนักว่าตัวเราก็ประกอบสร้างจากสายสัมพันธ์เหล่านั้น เราก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำและการถูกกระทำของเราตัวเรากับสรรพสิ่งเช่นกัน ในแนวคิดหลากสายพันธุ์ศึกษา multispecies studies ใช้คำว่า the art of attentiveness บ้าง noticing บ้าง ซึ่งพัฒนามาจากเรื่องของผัสสารมณ์ affects ที่กลุ่มสตรีนิยมทำให้เห็นถึงอำนาจของปัจเจกที่ทั้งกำลังถูกเบียดเบียน ปะทะและโต้กลับ

หากทุกข์ เป็นมากกว่าเรื่องของปัจเจก แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างและระบบที่ทำให้เกิดทุกข์ แพรนึกถึงกระบวนการของกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง ที่ชวนตั้งคำถามกับเบื้องหลังปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ ด้วยการสาวตามสายใยกกระบวนการที่หล่อหลอมให้เรามองปรากฎการณ์ดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องน่าหดหู่และดูไร้ทางออก แต่มันมีกลไกทางความคิดที่พยายามตัดขาดสายสัมพันธ์ของคนกับสรรพสิ่งให้กลายเป็นเพียงวัตถุหรือมีค่าเพียงเพราะมันมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจหรือต่อเจ้าอำนาจหรือเจ้าอาณานิคมเท่านั้น ช่วงเวลาโศกเศร้า griefing จึงเป็นทั้งเครื่องเตือนใจและสิ่งที่เสริมพลังความมีชีวิตชีวิตของมนุษย์และสรรพสิ่ง ดั่งที่ อ.เดวิด ยกตัวอย่าง (ขอบคุณแม่ที่ทำให้รู้จักการเศร้าโศกอาลัย)

ท่ามกลางสภาวะโหดร้ายทารุณที่ผู้คนยังคงเผชิญ ไม่ว่าจะสงครามฆ่ากัน ความเกลียดชังที่มาจากจุดยืนทางการเมืองที่ต่างกัน การขูดรีดแรงงานและความเป็นเพศสภาวะอื่น การจะมาไตร่ตรองจิตแบบธรรมนิเวศอาจเป็นเพียงสิ่งที่คนมีอภิสิทธิ์บางอย่างจะมีเวลาให้ อย่างไรก็ตาม การชวนมองพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่ลื่นไหล flow เป็นการเปิดกรอบความคิดและเชิญชวนให้คนมีความคิดสร้างสรรค์และเข้าร่วมปะทะหนุนเสริมกันได้ดี กระบวนการแบบนี้น่าจะช่วยปลดแอกจากความคิดครอบงำที่คอยเน้นแต่ปัจเจกและยกตัวเราให้สูงส่งกว่าสิ่งอื่นๆ ที่ปฏิบัติธรรมไม่ได้ แต่เปิดความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากสายสัมพันธ์ใหม่ ๆ ของธรรมนิเวศ ecodharma ที่จิตที่ไม่รู้จะนำพา

Source : https://www.facebook.com/altgeog/posts/10161424081837594

ความพร่องของอิสรภาพ : The Lack of Freedom

ความพร่องของอิสรภาพ : The Lack of Freedom

Author : Divid R. Loy

“เราเพียงแต่คิดถึงตัวเองว่าเป็นอิสระเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีพันธะได้ และเราเพียงแต่ต้องรู้สึกว่ามีพันธะเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระได้”
— Goethe
 
ถ้าเผื่อว่า”อิสรภาพ”คือคุณค่าสูงสุดของพวกเรา หากเป็นเช่นนั้น มันก็เป็นปัญหาอันหนึ่งเหมือนกัน. ในที่นี้เราจะมาทำการสำรวจถึง ปัญหาเกี่ยวกับอิสรภาพจากมุมมอง”ความพร่อง”(lack)ของชาวพุทธ
 
พุทธศาสนาให้เหตุผลว่า การสร้างอิสรภาพให้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดของเรา เป็นเรื่องที่อันตราย, สำหรับ”อิสรภาพ”มันถูกนึกคิดหรือเข้าใจโดยเอกเทศ ในมุมมองทางโลกหรือในเทอมต่างๆของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะก่อเกิดช่องว่างหรือเกิดรอยร้าว เพราะว่ามันไม่สามารถให้สิ่งที่เราแสวงหาจากมันได้อย่างแท้จริงนั่นเอง
 
ส่วนหนึ่งของการต่อต้านของเรา ซึ่งมีต่อข้อสรุปอันนั้น เนื่องมาจากความยุ่งยากในการพิจารณาเรื่องของอิสรภาพอย่างเป็นภววิสัย. อุดมคติอันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเรา ที่ค่อนข้างเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวิธีการที่เราเข้าใจตัวของเราเองมาก ดังนั้นมันจึงยากที่จะเฝ้าดูมัน
 
“คุณค่าของอิสรภาพ”อันนี้มีประวัติศาสตร์อันหนึ่ง มากกกว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ, มันเป็นผลลัพธ์ของการสืบค้นอย่างถี่ถ้วนซึ่งสลับซับซ้อนและจะต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด. ด้วยเหตุนี้ วิธีการเชิงเปรียบเทียบสามารถที่จะช่วยวาดเค้าโครงสถานการณ์ต่างๆของเราขึ้นมาได้ ที่ว่า ทำไมอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจึงได้เกิดขึ้นมาในตะวันตก และเมื่อไหร่และที่ไหน ที่มันมีการแสดงออกซึ่งอิสรภาพนั้น? คำถามต่อมาคือ มันตรงข้ามกับคุณค่าต่างๆขั้นปฐมของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกอย่างไร?
 
. . .
 
ความยุ่งยากอีกอันหนึ่งก็คือ “แนวความคิดที่แท้เกี่ยวกับอิสรภาพ” ซึ่งค่อนข้างเข้าใจยากมากๆ
 
มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะนิยามเรื่องของอิสรภาพในแบบที่น่าพอใจได้เลย สำหรับเหตุผลง่ายๆที่ว่า แนวความคิดที่เป็นนามธรรมนั้น ได้สูญเสียความหมายภายนอกบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคำถามที่ว่า อิสรภาพจากอะไร… หรืออิสรภาพถึงอะไร…?
 
ในเรื่อง Freedom in the making of Western Culture(1991), Orlando Patterson ได้จำแนกสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับอิสรภาพเอาไว้สามระดับคือ :
 
1. ระดับส่วนตัว (personal) หมายถึง สามารถที่จะทำความพึงพอใจต่างๆได้ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของความปรารถนาของคนอื่นที่จะกระทำสิ่งเดียวกัน
 
2. ระดับองค์อธิปัตย์ (sovereignal) หมายถึง อำนาจที่จะกระทำเพื่อความพึงพอใจต่างๆได้ โดยไม่เอาใจใส่ความปรารถนาของคนอื่นๆ
 
3. ระดับพลเมือง (civic) ความสามารถของสมาชิกในชุมชนหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตและการปกครอง คำนิยามทั้งสามระดับนี้ ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ซึ่งไล่ตามประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพนับจากเริ่มต้นเลยทีเดียว. ถ้าหากว่าอิสรภาพคือความรู้สึกหนึ่ง มันก็จะไม่ถูกแก้ปัญหาอย่างแน่นอน
 
. . .
 
ข้อเท็จจริงที่โชคไม่ดีคือว่า ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพ มากยิ่งกว่าการอยู่อย่างอิสระ. ทำไมมันยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ?
 
ในอินเดีย เป็นตัวอย่าง มุกติ(mukti – การปลดปล่อยเพื่อความหลุดพ้น เป็นอีกคำหนึ่งของโมกข์ษะ)ได้ถูกยอมรับกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยสกุลความคิดเกือบทั้งหมดในฐานะซึ่ง เป็นเป้าหมายทางจิตวิญญานอันสูงส่งที่สุดของการหลุดพ้น
 
“นับจากการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยขนบประเพณี ถูกเข้าใจว่าเป็นวัฏฏะอันหนึ่งของการเวียนว่ายตายเกิดที่โปรยปรายไปด้วยประสบการณ์และความทุกข์ “อิสรภาพของตัวตน”สามารถที่จะได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากวัฏฏะอันนี้ของสังสารวัฏ. ดังนั้น “อิสรภาพ”หรือ”มุกติ”(ความหลุดพ้น) จึงหมายความว่า อิสรภาพจากความไม่รู้เกี่ยวกับตัวตน นั่นคือ อวิชชา, อิสรภาพจากกิเลส ตัณหา หรือ กลิศ, อิสรภาพจากความทุกข์หรือ ทุกขา, และในท้ายที่สุด อิสรภาพจากความตายและกาลเวลา บรรดาชาวพุทธทั้งหลาย, ผู้นับถือศาสนาเชน, และเหล่าโยคีเข้าใจอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของความรู้ด้วย, ขณะที่สิทธา แสวงหาอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของธรรมชาติทั้งหมด”
 
เราอาจยกคำถามหรือข้อสงสัยบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพลิกแพลงการวิจารณ์ในแนวพุทธเกี่ยวกับอัตตา-ตัวตน(ego-self)มาใช้: การดำรงอยู่ของอัตตาตัวตนในเชิงสมมุติซึ่ง, เป็นเพราะมันเข้าใจตัวมันเองในฐานะที่แยกขาดออกจากโลก, บ่อยครั้ง ได้ถูกครอบครองมาก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยการปลดปล่อยตัวของมันเองจากพันธะต่างๆที่ผูกมัดมันไว้กับโลก
 
สำหรับพุทธศาสนา, อัตตาไม่ใช่ความสำนึกเกี่ยวกับตัวตนที่มีอยู่ แต่เป็นการสร้างขึ้นมาของจิต, ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่เปราะบาง ซึ่งหวาดกลัวตัวของมันเองในความไม่มีอยู่
 
ปัญหาของพวกเราเกิดขึ้นเพราะ “ฉัน” ที่กำหนดเงื่อนไขความสำนึกต้องการจะวางรากฐานตัวของมันเอง – – ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ตัวมันเองเป็นจริงขึ้นมา. ความล้มเหลวมาโดยตลอดของมันที่จะทำเช่นนั้น หมายความว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนเกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความพร่อง(a sense of lack) คล้ายกับเงาที่ไม่อาจหนีรอดได้ ซึ่งมันมักจะพยายามที่จะหนีไปให้รอด
 
. . .
 
การตีความเรื่องความพร่องเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง”การไม่มีตัวตน”ของชาวพุทธ มีนัยะสำคัญอยู่สองประการสำหรับหนทางที่เรามองเรื่องของอิสรภาพ
 
ประการแรก, วัฒนธรรมใดก็ตามที่เน้นความเป็นปัจเจกของตัวตน จะวางคุณค่าสำคัญยิ่งให้กับ”อิสรภาพ”หรือ”เสรีภาพของตัวตน”เอาไว้สูงสุดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ปกติแล้ว อิสรภาพได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นการกำหนดควบคุมชีวิตของตนเอง และในทางนิรุกติศาสตร์(de+terminus, to limit, set boundaries)เผยให้เห็นนัยะเกี่ยวกับการสถาปนาเขตแดนต่างๆ ระหว่างตัวตนและไม่มีตัวตนขึ้นมา
 
ในที่นี้ ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่า นับจากการเริ่มต้นของมัน “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพ”ของตะวันตก ได้ถูกนำไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพัฒนาการเรื่อง”ตัวตน”อย่างแข็งแกร่ง หรือนำเสนอมันในอีกช่องทางหนึ่ง กับการเพิ่มขึ้นของ ตัวตน-วัตถุ ในลักษณะทวิลักษณ์
 
ในขอบเขตอันนั้น อิสรภาพถูกเข้าใจในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากการควบคุมภายนอก, การแบ่งแยกอันหนึ่งที่ถูกให้นัยะระหว่างภายใน(ที่ซึ่งต้องการเป็นอิสระ) และภายนอก(ที่ซึ่งได้รับอิสระจาก). อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสิ่งที่ Patterson เรียกว่า”stillbirth” of freedom(การแท้งของอิสรภาพ)ภายนอกสังคมตะวันตก ถูกทำให้สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่า บรรดาสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตก มีแนวความคิดที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับเรื่องตัวตน และความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งอื่นๆ
 
ประการที่สอง, และสมมุติฐานซึ่งเป็นงานหลักของบทความชิ้นนี้ก็คือว่า ถ้าการดำรงอยู่ของตัวตนและ ความมีอิสระเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวตนเป็นมายาการอันหนึ่งดังที่พุทธศาสนาอ้าง หากเป็นเช่นนั้นจริง ตัวตนดังกล่าว ก็จะไม่สามารถประสบกับตัวของมันเองมากพอสำหรับตัวตน – – นั่นคือ มันจะไม่เคยรู้สึกเป็นอิสระพอ. มันจะพยายามแก้ปัญหาความพร่องของมัน โดยการขยายปริมณฑลเกี่ยวกับอิสรภาพของตัวเองออกไป กระนั้นก็ตาม นั่นไม่สามารถที่จะกว้างขวางพอต่อความสุขกายสบายใจ
 
ลักษณะที่เป็นพลวัตอันนี้ ได้ช่วยก่อเกิดสิ่งที่เรารู้จักในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ของตะวันตก: การแสวงหาอันไม่เคยสิ้นสุดเพื่อ”ลักษณะที่แท้จริง”; ยกตัวอย่างเช่น ความสมบูรณ์, อิสรภาพส่วนบุคคล. แต่มันสามารถจะเป็นอย่างนั่นได้ล่ะหรือ, ถ้ามันไม่มีตัวตน”ที่แท้จริง”ที่จะมีสิ่งเหล่านั้นได้ ?

Source : ผลงานวิชาการ ปรัชญาตะวันตก-ในมุมมองตะวันออก เรื่อง “ความพร่องของอิสรภาพ”(The Lack of Freedom) เขียนโดย David R. Loy : Bunkyo University https://midnightuniv.tumrai.com/miduniv888/newpage17.html

‘ปีใหม่’ มาทำความสะอาดใจให้ใสปิ๊ง

'ปีใหม่' มาทำความสะอาดใจให้ใสปิ๊ง

ปีใหม่กำลังจะมาถึง ไม่ว่าใครจะพูดอย่างไร พยากรณ์อย่างไรหรือไม่ว่าจะเป็นปีชงสำหรับเราหรือไม่ ขอให้มั่นใจว่าจะมีสิ่งดีๆ หลายอย่างรอเราอยู่ข้างหน้า เป็นสิ่งดีๆ ที่สามารถจะนำความสุขมาให้กับเราและสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตเราให้เกิดความผาสุกยิ่งๆ ขึ้นไป แต่เราจะเห็นสิ่งดีๆที่รออยู่ข้างหน้าได้ ใจเราก็ต้องพร้อมที่จะรองรับสิ่งดีๆ ด้วย
 
ถ้าใจเรายังหมกมุ่นกลุ้มใจอยู่กับเหตุการณ์ในอดีตหรือวาดภาพทางลบทางร้ายสำหรับปีหน้าที่จะมาถึง สิ่งดีๆ ที่รอเราอยู่ก็จะผ่านเลยออกไปโดยที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย แต่ถ้าหากว่าใจเราไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องอดีตและไม่มัวพะวงกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เปิดใจรับรู้เต็มตื่นอยู่กับปัจจุบัน เราก็จะพบเห็นสิ่งดีๆ ที่รอเราอยู่ในปีต่อไปอย่างแน่นอน
 
สิ่งดีๆ อย่างหนึ่งที่สามารถจะเกิดขึ้นกับเราได้ก็คือการมีความเข้าใจในชีวิตมากขึ้นเข้าใจความเป็นจริงของโลกมากขึ้น ที่จะช่วยทำให้เรารู้จักปล่อยรู้จักวางหรือไม่ไปยึดติดถือมั่นกับสิ่งต่างๆ ไม่ไปเอาจริงเอาจังกับเรื่องเล็กเรื่องน้อยจนบดบังความสุขที่มีอยู่กับเราในทุกขณะ
 
ปีใหม่ทั้งทีก็ต้องทำให้ใจเราใหม่ด้วย ไม่ใช่ว่าปีใหม่แต่ใจเก่า และถ้าใจเราใหม่หรือโดยเฉพาะใจที่ตื่นรู้หรือเต็มตื่นกับปัจจุบันรวมทั้งรู้จักมองเห็นสิ่งดีๆ ที่มีอยู่รอบตัวเรา สิ่งดีที่มีอยู่กับเราไม่มองเห็นแต่สิ่งแย่ๆ จะพบว่าปีใหม่จะมีสิ่งที่ชุบชูจิตใจเราหรือเหตุการณ์ที่ทำให้เราเกิดความเข้าใจในชีวิต เข้าใจความเป็นจริงของโลกมากขึ้น
 
ประสบการณ์เหล่านี้จะทำให้เราสามารถที่จะรับมือกับความทุกข์ได้ดีขึ้น มีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับเราแต่ใจเราไม่ตกต่ำย่ำแย่ มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับเรา กับทรัพย์สินเงินทองของเรา กับคนที่เรารัก แต่เราก็สามารถจะผ่านพ้นเหตุการณ์เหล่านั้นไปได้ กลายเป็นคนใหม่ที่ฉลาด ที่เข้มแข็งมั่นคงกว่าเดิม
 
ปีใหม่สามารถจะนำพาชีวิตใหม่ให้กับเรา แต่เพราะชีวิตใหม่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีสิ่งใหม่ๆ ชนิดที่ใหม่เอี่ยม ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีรถคันใหม่มีบ้านหลังใหม่มีงานใหม่หรือโทรศัพท์เครื่องใหม่หรือแม้แต่มีแฟนคนใหม่ด้วยซ้ำ ปีใหม่เราอาจจะยังมีสิ่งต่างๆ เหมือนเดิมแต่สิ่งเหล่านั้นแม้จะไม่ใหม่เอี่ยม แต่ก็อาจจะใหม่แบบใสปิ๊งก็ได้
 
ของเก่าแต่ถ้าหากว่าเราดูแลให้ดี มองด้วยมุมใหม่ก็กลายเป็นของใหม่ใสปิ๊งได้เหมือนกันและเราต้องเริ่มต้นด้วยการทำใจของเราให้ใหม่ใสปิ๊ง และถ้าใจเราใหม่ใสปิ้ง สิ่งที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นข้าวของ เครื่องใช้ผู้คน งานการ แม้จะเป็นของเดิมสืบเนื่องจากปีเก่าแต่มันจะไม่ใช่ของเก่าอีกต่อไป จะเป็นของใหม่ที่ใสปิ๊งเพราะว่าเรามองด้วยมุมใหม่
 
มองมุมใหม่ได้เพราะใจเราก็ใหม่ใสปิ๊งเหมือนกัน ขัดเกลาจิตใจเราให้สะอาดชำระคราบไคลที่สะสมจากปีก่อนๆ ใจเราเหมือนแก้วที่เก่าเพราะคราบไคลที่สะสมมาจากปีก่อนๆ ปีแล้วปีเล่า
 
ปีใหม่นี้เรามาทำความสะอาดชำระใจเราให้ใหม่ใสปิ๊งจะดีกว่า ก็คือปลดเปลื้องความทุกข์ความกังวลที่เคยสะสมหมักหมมออกไป อดีตที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านเลยไป อารมณ์เก่าๆ ที่เคยสะสมสร้างความความหม่นมองให้กับจิตใจ ก็ปลดเปลื้องออกไปจากใจบ้าง ด้วยการรู้ทัน มีสติรู้ทัน ถ้าเราชำระใจให้สะอาดปราศจากคราบไคลจากปีก่อนๆ ใจเราก็จะใหม่ใสปิ๊ง และใจที่ใหม่ใสปิ้งที่ทำให้สิ่งต่างๆ ที่แม้จะมีเหมือนเดิมแต่จะไม่ใช่ของเดิมแล้ว ก็จะใหม่ใสปิ๊งเหมือนกัน รวมทั้งงานการด้วย
 
อาจจะไม่ใช่ใหม่เอี่ยมเรียกว่าซื้อมาใหม่แต่ว่าก็กลายเป็นของใหม่ได้ถ้าเรามองด้วยมุมใหม่ งานที่เราทำถ้าเรามองด้วยมุมใหม่ก็สามารถจะเป็นงานที่ทำให้ใจเรามีความสุข แทนที่จะทำด้วยความรู้สึกหนักอกหนักใจ แต่เรากลับทำด้วยใจที่แจ่มใสเบิกบานเพราะรู้ว่าทำไปทำไมและรู้จักวิธีที่จะทำ คือทำอย่างมีสติทำด้วยความรู้สึกตัวอยู่กับปัจจุบัน
 
และถ้าหากว่าเราลองปรับเปลี่ยนชีวิตของเราให้ใหม่อยู่บ้าง ใหม่กว่าเดิม เช่นออกกำลังกายให้มากขึ้น พักผ่อนให้พอเพียง ให้เวลาน้อยลงกับโทรศัพท์มือถือหรือ Social Media มีเวลาให้กับคนรักมากขึ้น เช่น พ่อแม่ลูก คนรักคู่ครอง รวมทั้งมีเวลากับใจของเรา มีเวลาทำใจให้สงบฝึกสมาธิเจริญสติ รู้จักหาความสุขที่มากไปกว่าการกินการเสพหรือที่เรียกว่ากินดื่มเที่ยวเล่นช้อบ มาเป็นความสุขจากการทำสิ่งดีๆ มีประโยชน์ ทั้งเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน ก็เชื่อได้เลยว่าชีวิตของเราจะกลายเป็นชีวิตที่ใหม่กว่าเดิม และจะทำให้ใจเราพร้อมที่จะรองรับสิ่งดีๆ ที่รอเราอยู่ในปีข้างหน้า แม้จะมีอุปสรรคมีความทุกข์ มีความไม่สมหวังเกิดขึ้นแต่ก็จะกลายเป็นปุ๋ยที่ช่วยบำรุงจิตใจของเราให้เจริญงอกงาม ดอกไม้ถ้าขาดปุ๋ยก็ไม่งาม และปุ๋ยก็คือสิ่งที่เคยเป็นขยะมาก่อน
 
ขยะถ้าเอามาใช้เป็นก็บำรุงดินให้เกิดดอกไม้ที่สวยงามผลไม้ที่หอมหวาน ความทุกข์อุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่เป็นสิ่งเลวร้ายเสมอไป แต่สามารถจะกลายเป็นปุ๋ยบำรุงจิตบำรุงใจของเราให้มีปัญญามีประสบการณ์และมีความสุขมากขึ้น
 
ในโอกาสขึ้นปีใหม่นี้ก็ขอให้ทุกท่านได้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ปลอดภัยไกลทุกข์ ขอให้มีใจที่ใหม่ใสปิ๊งเพื่อที่จะได้สัมผัสรับรู้ถึงความสุขและสิ่งดีๆ ที่รอเราอยู่ตลอดปีที่จะถึงนี้ ขอให้ทุกท่านได้มีความเข้าใจในสัจจธรรมความจริงของชีวิตจนกระทั่งสามารถยกจิตให้ผ่านทุกข์พบสุขได้ในที่สุดขอเจริญพร

‘การกราดยิง’ สำรวจสาเหตุอันซับซ้อนของพฤติกรรมสังหารหมู่

‘การกราดยิง’ สำรวจสาเหตุอันซับซ้อนของพฤติกรรมสังหารหมู่

เสียงปืนที่ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายนัดเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่สร้างความตกตะลึงแก่ผู้คนในสังคมและเป็นความรุนแรงที่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงแก่ทุกคน เพราะเหยื่อสามารถเป็นใครก็ได้

การกราดยิงในพื้นที่สาธารณะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงศตวรรษปัจจุบัน แม้ความรุนแรงในรูปแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นบ่อยนักในสังคมไทย กระนั้นก็ตาม เหตุการณ์กราดยิงในไทยดูจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หนึ่งในเหตุการณ์ซึ่งเป็นที่จดจำคือเหตุการณ์กราดยิงที่นครราชสีมา ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งตามมาด้วยการถอดบทเรียนอย่างหลากหลายจากทุกภาคส่วน กระนั้นก็ยังคงไม่ใช่เหตุการณ์สุดท้าย เมื่อเหตุการณ์ครั้งล่าสุดคือการกราดยิงที่สยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เสียงปืนหลายนัดดังขึ้นใจกลางเมืองที่พลุกพล่าน ท่ามกลางการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนจำนวนมากทั้งชาวไทยและต่างชาติ

เหตุการณ์ที่น่าหวาดหวั่นจากเสียงปืนและการสังหารหมู่ดึงดูดความสนใจและการถกเถียงของสังคม ภายใต้คำถามสำคัญว่า เหตุใดการกราดยิงจึงเกิดขึ้น?

การกราดยิง (mass shootings) หมายถึง เหตุการณ์การสังหารด้วยอาวุธปืนที่มีเหยื่อตั้งแต่ 4 รายขึ้นไป โดยถือเป็นการสังหารหมู่ (mass killing) รูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ดี มีการนิยามที่หลากหลายถึงการกำหนดจำนวนผู้เสียชีวิตหรือผู้ประสบภัย

ในงานศึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงจากปืน (gun violence) เป็นที่ทราบกันมาสักระยะแล้วว่า กราดยิงเป็นการกระทำที่มีสาเหตุสลับซับซ้อน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขึ้นของการใช้ความรุนแรงในการสังหารหมู่ มีลักษณะเป็นปัจจัยที่สหสัมพันธ์ซึ่งส่งผลร่วมกัน แม้จะมีงานศึกษาจำนวนมากที่พยายามพัฒนาแบบจำลองการทำนายพฤติกรรมของบุคคลที่มีแนวโน้มก่อเหตุ แต่ยังคงห่างไกลจากตัวแบบหนึ่งเดียวที่สามารถอธิบายได้อย่างครอบคลุม แม้ว่าในแต่ละกรณีจะมีปัจจัยมูลเหตุจูงใจที่ถ่วงน้ำหนักแตกต่างกัน ซึ่งมักถูกชี้ชัดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปว่าในแต่ละกรณีมีปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเป็นปัจจัยชี้ขาด

กระนั้นก็ตาม ในฐานะผู้ศึกษาความรุนแรง การพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดเหตุการณ์ที่อุกอาจเช่นนี้ยังคงเป็นประเด็นที่น่าสนใจ คำถามคือ เรารู้อะไรเกี่ยวกับสาเหตุของความรุนแรงจากปืนบ้าง?

จุดสนใจแรก: ปัญหาสุขภาพจิต?

เมื่อมีเหตุการณ์การกราดยิงเกิดขึ้น ปัจจัยจำนวนหนึ่งที่มักถูกหยิบยกขึ้นตั้งเป็นสมมติฐานพื้นฐานในหลายกรณีคือ เรื่องความผิดปกติส่วนบุคคลจาก ‘ความเจ็บป่วยทางจิต’

การกราดยิงเป็นพฤติกรรมที่ท้าทายกฎหมาย ละเมิดศีลธรรม และขัดต่อบรรทัดฐานทางสังคมอย่างร้ายแรง ความผิดปกติจากอาการทางจิตจึงมักถูกตั้งเป้าเป็นสมมติฐานแรกๆ โดยเมื่อมีเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้น สังคมมักมองหาความผิดปกติเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถสังเกตเห็น ทั้งจากลักษณะท่าทาง การพูดจา หรือคำบอกเล่าจากผู้คนรอบข้างผู้ก่อเหตุเพื่อเชื่อมโยงเข้าหาสมมติฐานที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ดี งานศึกษาจำนวนมากกลับให้ภาพความเข้าใจต่อผู้ก่อเหตุกราดยิงที่ต่างออกไป โดยชี้ว่าในความเป็นจริงผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตส่วนใหญ่มักไม่มีส่วนในการใช้ความรุนแรง ผู้มีอาการทางจิตส่วนใหญ่ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะทำร้ายใคร และแม้ว่าจะมีผู้ก่อเหตุกราดยิงจำนวนหนึ่งที่มีประวัติการรักษาความเจ็บป่วยทางจิตจริง แต่ส่วนมากก็ไม่ใช่สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรง โดยในสหรัฐอเมริกามีผู้มีความเจ็บป่วยทางจิตเพียงราว 3% ถึง 5% ของประชากรเท่านั้นที่มีความเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรง ขณะที่อาจมีความแตกต่างกันไปในพื้นที่อื่นๆ แต่ก็อยู่ในระดับที่ไม่เกิน 10% (ดูใน Appelbaum, 2013 ,Shultz, et al 2014)

อย่างไรก็ดี เรายังคงไม่อาจละเลยจากปัจจัยดังกล่าว เนื่องจากมีข้อบ่งชี้ว่า อาการหลงผิดหวาดระแวง (Paranoid Schizophrenia) อาจเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่เป็นไปได้ และอาจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีการใช้สารเสพติดควบคู่ (Corner, et al 2018) กระนั้นก็ตาม ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงเหล่านี้ยังคงมีจำนวนน้อยมาก จนในงานศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ จิตเพทย์ชื่อดัง อย่างโจนาธาน เมตเซิล (Jonathan M. Metzl) ย้ำเตือนในบทความ Mental Illness, Mass Shootings, and the Future of Psychiatric Research into American Gun Violence ของเขาว่า ผู้ศึกษาเรื่องการกราดยิงควรละทิ้งสมมติฐานแรกเริ่มที่ว่า การสังหารหมู่จำนวนมาก มีสาเหตุหลักมาจากความเจ็บป่วยทางจิต จนละเลยบริบททางสังคมและปัจจัยอื่นๆ (Metzl 2021)

ภาพยนตร์-เกมนำไปสู่ความรุนแรง?

ทุกๆ ครั้ง ที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น อีกหนึ่งปัจจัยที่มักถูกยกขึ้นเป็นประเด็นถกเถียงอย่างเผ็ดร้อน และถูกกล่าวถึงเสมอจนถึงปัจจุบันคือเรื่องอิทธิพลความรุนแรงของ ‘ภาพยนตร์และเกม’ มิพักต้องพูดถึงเหตุการณ์กราดยิงที่ปัจจุบันมีเกมจำนวนมากที่มีเนื้อหาในทำนองเดียวกัน จนแทบจะกล่าวได้ว่าเกมถูกโทษให้เป็นสาเหตุสำคัญในการอธิบายสาเหตุของความรุนแรงในเยาวชนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

กระแสอธิบายดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นแต่เฉพาะในสังคมไทย ในต่างประเทศการอธิบายความสัมพันธ์ดังกล่าวถูกพูดถึงเป็นการทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อมีงานศึกษาจำนวนมากชี้ว่าเกมที่มีเนื้อหารุนแรงสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวระยะสั้นในเด็ก ขณะที่สื่อโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่มีเนื้อหารุนแรง ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับพฤติกรรมความก้าวร้าวและการใช้ความรุนแรงในระยะสั้น ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ และส่งผลต่อพฤติกรรมความก้าวร้าวและความรุนแรงในเด็กในระยะยาว (ดู Huesmann & Taylor 2006 และ Huesmann 2007)

อย่างไรก็ดี ข้อสรุปจากงานศึกษาในอดีตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเกมและการใช้ความรุนแรงกลับมีความแตกต่างอย่างมากจากผลการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ โดยในงานศึกษาที่สำคัญ 2 ชิ้น คือ Does playing violent video games cause aggression? A longitudinal intervention study ในปี 2019 และ Do longitudinal studies support long-term relationships between aggressive game play and youth aggressive behavior? A meta-analytic examination ในปี 2020 ซึ่งใช้กรณีตัวอย่างจำนวนมาก และตรวจสอบกรณีศึกษาในอดีตใหม่อีกครั้ง ได้ล้มล้างสมมติฐานเดิมที่ถูกเข้าใจกันในหมู่นักจิตแพทย์กว่าหลายทศวรรษ โดยผลการศึกษาไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างการเล่นเกมกับพฤติกรรมความรุนแรงหรือความก้าวร้าว ผู้ศึกษาชี้ข้อสังเกตว่าผลของงานศึกษาในอดีตที่ออกมาในลักษณะดังกล่าว เกิดจากปัญหาด้านระเบียบวิธีวิจัยและอคติในการศึกษาเป็นหลัก มากกว่าที่จะเป็นผลจากการศึกษาจริงๆ (Aaron, et al 2020, Kühn, et al 2019)

การแพร่ระบาดทางสังคมจากการรายงานข่าว

กระนั้นก็ตาม เรายังคงไม่อาจสรุปได้ว่า ‘พฤติกรรมเลียนแบบจากสื่อ’ จะไม่มีผลใดๆ เลย โดยเฉพาะเมื่อมันถูกนำมาใช้อธิบายการแพร่ระบาดทางสังคม ภายหลังเหตุการณ์กราดยิงในโรงเรียนที่สหรัฐอเมริกาซึ่งถูกรายงานผ่านสื่อออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่กี่วันหลังจากนั้น ความถี่ในการก่อเหตุในลักษณะเดียวกันเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ บทบาทของสื่อถูกกล่าวถึงอย่างจริงจังอีกครั้ง เมื่อการศึกษาเชิงปริมาณต่อแบบจำลองการแพร่กระจายพบหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนว่า กรณีการสังหารหมู่ด้วยอาวุธปืนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอดีตอันใกล้ เหตุกราดยิงที่โด่งดังอาจเพิ่มความน่าจะเป็นในระยะเวลาหนึ่งต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์กราดยิงกินเวลายาวนานราว 13 วัน ต่อการเกิดเหตุการณ์หนึ่งครั้งก่อนหน้า (Towers, et al 2015)

แนวคิดทางระบาดวิทยา อย่างการแพร่ระบาด (contagion) ถูกนำมาใช้เป็นอุปมาเพื่อพูดถึงการแพร่กระจายตัวของเหตุการณ์การกราดยิงว่าติดต่อจากพื้นที่หนึ่งไปสู่อีกพื้นที่หนึ่งเหมือนการกระจายตัวของเชื้อโรค อย่างไรก็ดี คำถามคือพาหะของมันคืออะไร? พฤติกรรมเลียนแบบถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายการแพร่ระบาดดังกล่าว ซึ่งมี ‘การรายงานข่าวของสื่อมวลชน’ เป็นพาหะ โดยชี้ว่าพฤติกรรมของบุคคลหนึ่งสามารถโน้มน้าวให้อีกคนหนึ่งมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันได้ ผ่านวิธีที่สื่อรายงานเหตุกราดยิง อย่างการนำเสนอภาพลักษณ์ของมือปืน คำพูดของพวกเขา เรื่องราวชีวิตของมือปืน รวมถึงรายละเอียดของเหตุการณ์กราดยิงที่ถูกนำเสนอซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อผู้ที่มีแนวโน้มจะก่อเหตุได้รับชมสื่อเหล่านี้จะสามารถเพิ่มโอกาสเกิดเหตุการณ์กราดยิงในอนาคตได้ (Meindl & Ivy 2017)

การควบคุมอาวุธปืนและปัจจัยเศรษฐกิจสังคม

หากมองพ้นไปจากปัจจัยส่วนบุคคล อย่างเรื่องบุคลิก ลักษณะส่วนบุคคล และพฤติกรรมการใช้ชีวิต มีปัจจัยหนึ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของรัฐบาลโดยตรง คือเราจะมองข้ามเรื่องอาวุธปืนได้อย่างไร ในเมื่อปืนเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการก่อเหตุกราดยิง

งานศึกษาจำนวนมากพบความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอาวุธปืนและความยากง่ายในการเข้าถึงอาวุธปืนกับการก่อสังหารหมู่ ในงานศึกษาของ Paul Reeping พบว่า พื้นที่ที่มีการอนุญาตการถือครองอาวุธปืนมากและผู้คนเป็นเจ้าของอาวุธปืนมาก มีอัตราการกราดยิงสูงกว่าพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการถือครองอาวุธปืน และในแต่ละช่วงเวลาของพื้นที่เดียวกัน เมื่ออัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนอาวุธปืนในพื้นที่นั้นๆ สูงขึ้น อัตราการก่อเหตุกราดยิงก็เพิ่มขึ้นด้วยอย่างมีนัยสำคัญ ในอเมริกาตั้งแต่ปี 1998 ถึง 2015 อัตราการครอบครองอาวุธปืนที่เพิ่มขึ้นราว 10% สัมพันธ์กับอัตราการเกิดเหตุการณ์ยิงที่เพิ่มสูงขึ้น (Reeping, et al 2019) จนอาจกล่าวได้ว่า การที่ผู้คนสามารถครอบครองอาวุธปืนส่งผลให้อาวุธปืนมีสถานะความพร้อมใช้งานสูง เมื่อผู้คนมีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงสังหารผู้คน อาวุธปืนที่อยู่ใกล้มือจึงถูกฉวยเอามาใช้ก่อเหตุได้อย่างรวดเร็ว (Ahmad, et al 2020) สิ่งนี้อธิบายได้ดีว่าเหตุใดการกราดยิงหลายกรณีในประเทศไทยจึงมีผู้ก่อเหตุเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐ เช่น ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านั้น

นอกจากนี้ ในทางกลับกันจากงานศึกษาเปรียบเทียบของ Bricknell และคณะ ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการครอบครองอาวุธปืนในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียชี้ว่า การออกกฎหมายและมาตรการดำเนินการควบคุมอาวุธปืนที่แตกต่างกัน ส่งผลต่ออัตราการเกิดเหตุการณ์กราดยิงที่แตกต่างกัน การมีกฎหมายควบคุมอาวุธปืนที่เข้มงวดสามารถทำให้เหตุการณ์กราดยิงลดลงอย่างเห็นได้ชัด กฎหมายซึ่งถูกออกโดยรัฐจึงมีความสำคัญอย่างมาก รวมไปถึงมาตรการที่รัฐใช้ โดยในกรณีของออสเตรเลียที่มีการดำเนินโครงการซื้อคืนอาวุธปืน ทำให้อัตราการครอบครองอาวุธปืนลดลงอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาที่ไม่มีมาตรการดังกล่าว กฎหมายและมาตรการเหล่านี้ช่วยลดอัตราความพร้อมใช้งานของอาวุธปืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีบทความได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความเข้มงวดและความสม่ำเสมอในการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งหากปราศจากสิ่งเหล่านี้ก็อาจไม่สามารถป้องกันผู้ก่อเหตุที่มีแรงจูงใจในการดำเนินการได้ แม้จะมีกฎหมายอยู่ก็ตาม (Bricknell, et al )

ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่น่าสนใจ อย่างปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมซึ่งอยู่ในการจัดการของรัฐโดยตรง การศึกษาพบว่าความเหลื่อมล้ำของรายได้ ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน โอกาสทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายด้านสวัสดิการสาธารณะ ล้วนเกี่ยวข้องกับอัตราการสังหารด้วยอาวุธปืน (Kim 2019) หรือแม้แต่ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรที่ถูกเหยียดเชื้อชาติมาก มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการกราดยิงมาก (Ghio, et al 2023) ดังนั้นการที่รัฐให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้จึงสำคัญอย่างยิ่งในฐานะการแก้ปัญหาระดับโครงสร้าง ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่อยู่ในความสามารถการบริหารจัดการทางนโยบายของรัฐได้โดยตรง

ถึงที่สุดแล้ว เราพึงตระหนักว่า การกราดยิงเป็นการกระทำที่มีความสัมพันธ์สลับซับซ้อนเกินกว่าจะสรุปได้ด้วยปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว แต่ละกรณีมีตัวจุดชนวนที่แตกต่างกัน และค่อนข้างมีปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงในแต่ละกรณี แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้ที่เล่นเกมที่มีเนื้อหารุนแรงทุกคนจะมีพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงทางอาญา เช่นเดียวกันกับกรณีของความเจ็บป่วยทางจิต ไม่ใช่ผู้ป่วยจิตเวชทั้งหมดจะลุกขึ้นมาทำร้ายผู้คนรอบข้าง และไม่ใช่ผู้ที่นิยมปืนและชอบเรื่องราวสงครามทุกคนจะหยิบอาวุธขึ้นมากราดยิงผู้คนในพื้นที่สาธารณะ สาเหตุของการใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธปืนนั้นสลับซับซ้อนและยังคงรอให้มีการศึกษาเพิ่มขึ้นในอนาคต

การฆ่าตัวตาย พูดได้

การฆ่าตัวตาย พูดได้

เมื่อมีการพูดถึง “การฆ่าตัวตาย” ในบทสนทนา ผมเชื่อหว่าหลายคนก็อาจจะเคยรู้สึกว่าหัวข้อนี้ เป็นเรื่องที่อ่อนไหว และน่าอึดอัด

“เคยมีความคิดอยากจะแบบ… แบบว่า จบมั้ย พอแล้ว ไรงี้ ว่าไงดี…”
“แล้วเคยแบบว่าไงดี ไม่ค่อยอยากจะพูดเลย แบบไม่อยู่มั้ยอ่ะ?”
“ถ้าเราพูดออกไป จะกลายเป็นชี้นำเขามั้ยนะ?”
“อยากช่วยเหมือนกัน แต่จะพูดคุยยังไงดีนะ?”

สำหรับคนที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเล่ายังไง? คนที่ฟังจะหนักใจไหม จะลำบากใจรึเปล่า? และสำหรับคนที่รับฟัง ก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่าจะพูดอะไรได้บ้าง? คนที่เครียด มีปัญหา เขาจะฆ่าตัวตายหรือเปล่า? แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะถาม หรือจะพูดคุยยังไงดี?

เนื่องในวันที่ 10 กันยายน คือวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) ผมจึงใช้โอกาสนี้ ได้นำบทความเกี่ยวกับ บทสนทนาการฆ่าตัวตายมาพูดถึงกันครับ

บทสนทนาหัวข้อ การฆ่าตัวตาย ไม่ค่อยได้มีการพูดถึงกันมากเท่าไหร่นัก ในบทสนทนานี้ อาจจะมีหลากหลายความคิด ความรู้สึกที่ตามมา ทั้งตัวของผู้ที่กำลังประสบปัญหาอยู่ หรือรวมถึงผู้ที่กำลังรับฟังอยู่ด้วย

“ควรพูดยังไงดีล่ะ”
“ถามตรงๆเลยได้มั้ยนะ”
“ถ้าเล่ามากไป เขาจะเป็นห่วงเรามากเกินไปป้ะนะ”
“ถ้าเราเผลอพูดไม่ดีไป จะทำให้มันแย่กว่าเดิมทำไง”
และอีกมากมาย

ทำไมผู้คนถึงหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายกันล่ะ

จากการศึกษา ผมขอสรุปได้ว่าผู้คนหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายกัน เพราะมีความเกรงกลัวและอายที่ตนเองมีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น กลัวไม่ได้รับการสนับสนุน และการช่วยเหลือ กลัวว่าจะได้รับการปฏิเสธ รวมถึงกลัวการเป็นภาระให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย และยังมีความรู้สึกเครียดกังวลกับปัญหาที่ตนเองกำลังพบเจออยู่อีกด้วย

ซึ่งแน่นอนว่าความรู้สึกเหล่านี้ก็สามารถส่งมาถึงผู้ที่รับฟังด้วย ในบางครั้งผู้ที่รับฟัง รับรู้ได้ถึงความเครียด และความหนักหน่วงของอีกฝ่าย จนมีความกังวลว่าอีกฝ่ายจะ ทำอันตรายกับตนเอง หรือจะฆ่าตัวตายไหม

แต่บางครั้งก็จะหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องการฆ่าตัวตายที่ชัดเจน เนื่องจากมีความเกรงกลัวว่าตนเองจะทำให้อีกฝ่ายเกิดความเครียดมากกว่าเดิมหรือเปล่า
รวมถึงการมีบทสนทนาที่ชัดเจนเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายนั้น จะยิ่งทำให้เหมือนเป็นการชี้นำอีกฝ่ายให้ลงมือทำไหม

จากข้อความข้างต้นนี้ อาจเห็นได้ว่าทำไมบทสนทนาเกี่ยวกับ การฆ่าตัวตาย จึงไม่ค่อยได้มีความชัดเจน และเกิดขึ้นได้บ่อยนัก เนื่องจากมันเป็นหัวข้อที่อ่อนไหวมากๆ และแน่นอนว่านอกจากข้อความข้างต้นนี้ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้ บทสนทนาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย จะไม่ค่อยพูดถึงกัน และชัดเจนมากเท่าไหร่

แต่ทุกคนทราบไหมครับ เรื่องการฆ่าตัวตาย ถึงจะเป็นหัวข้อในบทสนทนาที่คนไม่ค่อยอยากพูดถึง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นอีกหนึ่งในหัวข้อที่ควรได้รับการพูดถึงอย่างมาก หัวข้อที่คนไม่อยากพูดถึง แต่ควรได้รับการใส่ใจ

จากการศึกษาค้นพบว่า การหลีกเลี่ยงบทสนทนาของการฆ่าตัวตาย จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล และความเครียดที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากจะยิ่งทำให้รู้สึกว่า
ความคิดฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่ผิดแปลก และจะยิ่งทำให้เกิดความรู้สึกผิด ความสับสน และความเครียดเพิ่มขึ้นไปอีก

ดังนั้นการพูดคุย การมีบทสนทนาเกี่ยวกับฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ปกติ ทำให้ ความคิดการฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องที่ไม่ได้ผิดแปลกสามารถเกิดขึ้น และได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกวิธีได้ ถ้าหากได้มีการแบ่งปัน และได้มีการพูดถึง

อีกทั้งยังมีการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ยิ่งมีการสนทนาเกี่ยวกับความเครียด ปัญหา รวมถึงการฆ่าตัวตายนั้น จะสามารถบรรเทาความคิดเหล่านั้นได้ด้วย ทั้งยังทำให้บทสนทนานั้นได้ทบทวนขอความช่วยเหลืออีกด้วย

รวมถึงมีการศึกษาด้วยว่า การกล่าวถึง การฆ่าตัวตายอย่างชัดเจนในบทสนทนาไม่ได้เป็นการ ชี้นำ หรือแนะนำ ให้คู่บทสนทนานึกถึงการฆ่าตัวตายเป็นทางออก แต่ในทางกลับกัน การกล่าวถึง หรือการถามว่า มีความคิดฆ่าตัวตายบ้างไหม เป็นการช่วยเหลือมากกว่า การชี้นำอีกด้วย

อาจกล่าวได้ว่า บทสนทนาเรื่องการฆ่าตัวตายนั้น แน่นอนว่า เป็นหัวข้อที่อ่อนไหว และบทสนทนาอาจจะไม่ราบรื่นเท่าไรนัก แต่อยากจะเชิญชวนให้เป็นอีกหนึ่งในหัวข้อที่ให้มองว่าเป็น “เรื่องปกติ” ที่สามารถพูดคุยได้ในบทสนทนา เพื่อให้ได้มีการช่วยเหลือ สนับสนุน รวมถึงได้แบ่งปันแนวทางช่วยเหลือให้คู่สนทนาอีกด้วย

ความกังวล ความกลัว ที่เกิดขึ้นในบทสนทนา ในหัวข้อ “การฆ่าตัวตาย” อาจทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่กล้าพูดถึง หรือแบ่งปันได้ แต่อยากให้เชิญชวน ให้มองว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่เกิดขึ้นได้ เป็นเรื่องปกติ ให้มองว่า “การฆ่าตัวตายพูดได้” เพื่อให้ได้รู้ว่า ถึงจะเป็นเรื่องที่หนักหนา แต่ให้ได้รู้ว่ามีคนพร้อมรับฟัง ช่วยเหลือ พร้อมสนับสนุน รวมถึงผู้ที่รับฟัง ให้ได้รับรู้ว่าอย่ากังวลว่าจะทำให้คู่สนทนานั้นเครียดมากขึ้น แค่มีเจตนาที่จะช่วยเหลือ สนับสนุน แค่นี้ก็เป็นการช่วยเหลือที่สุดยอดมากแล้วครับ

หากมีการพูดคุย แล้วไม่แน่ใจว่าจะช่วยเหลือได้อย่างไร เบื้องต้นสามารถรับฟัง และส่งเสริมให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะพบเจอกับ จิตแพทย์ นักจิตวิทยาการปรึกษา และอีกมากมาย เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือได้อย่างถูกต้อง