การบริโภคของยุวชนชาวพุทธรุ่นใหม่
Author : Sumi Loudon
La” in Hooked! : Buddhist Writings on Greed, Desire, and the Urge to Consume edited by
Stephanie Kaza, Boston & London : Shambhala, 2005, pp.49 – 62.
ผู้เขียนบทความชิ้นนี้คือ ซูมิ เลานดอน นักเขียนสาว พุทธ
ศาสนิกชนชาวเกาหลีรุ่นใหม่ที่เกิดและเติบโตในสหรัฐฯ เธอสนใจ
พุทธธรรมและถ่ายทอดออกมาเป็นงานเขียนอย่างต่อเนื่อง ส่วนงาน
เขียนชิ้นนี้ ฆราวาสสาวรุ่นใหม่อย่างเธอ ผู้ไม่เคร่งครัดในแบบแผน
การปฏิบัติแบบชาวพุทธเท่าใดนัก ได้นำเรื่องราวแปลกๆ และ
ประสบการณ์ส่วนตัวที่น่าสนใจมาถ่ายทอดให้ฟัง
เธอเริ่มต้นเรื่องผ่านเหตุการณ์ปรกติธรรมดาในชีวิตประจำ
วันของเธอเอง เมื่อคราวต้องการซื้อของตกแต่งบ้านใหม่ อย่างเช่น
ม่านหน้าต่าง ซึ่งเธอไปพบผืนที่ชื่นชอบ ทว่าราคาของมันก็ช่างแพง
แสนแพงจนเธอจำต้องตัดใจ หันมาเดินเลือกหาใหม่ในห้างสรรพสินค้าระดับล่างลงมาอย่างเคมาร์ต
(Kmart) ตามคำแนะนำของคุณแม่ ซึ่งดูเหมือนเธอจะพึงพอใจกับราคาและคุณภาพสินค้าที่นี่
หลังจากได้ผ้าม่านผืนใหม่สีเหลืองในห้องครัวแล้ว เธอก็เข้านอนพร้อมกับนึกทบทวนถึงเหตุการณ์
และสภาวะจิตใจของเธอที่ผ่านมาตั้งแต่คืนก่อน ซึ่งเธอพบการเปลี่ยนแปลงอันน่าประหลาด กล่าวคือ การ
ซื้อม่านในวันนั้นทำให้เธอรู้สึกถึงความปรารถนาอยากมีอยากได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งๆ ที่คืนก่อน
หน้านั้น จิตใจของเธอกลับไม่ได้มีความปรารถนาใดๆ เลย จะมีก็แต่การนึกถึงเพื่อนอย่างปล่อยใจสบาย
อารมณ์ อ่านหนังสือดีๆ มีสาระที่ให้แง่คิด
หลังจากได้ผ้าม่านผืนใหม่สีเหลืองในห้องครัวแล้ว เธอก็เข้านอนพร้อมกับนึกทบทวนถึงเหตุการณ์
และสภาวะจิตใจของเธอที่ผ่านมาตั้งแต่คืนก่อน ซึ่งเธอพบการเปลี่ยนแปลงอันน่าประหลาด กล่าวคือ การ
ซื้อม่านในวันนั้นทำให้เธอรู้สึกถึงความปรารถนาอยากมีอยากได้อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งๆ ที่คืนก่อน
หน้านั้น จิตใจของเธอกลับไม่ได้มีความปรารถนาใดๆ เลย จะมีก็แต่การนึกถึงเพื่อนอย่างปล่อยใจสบาย
อารมณ์ อ่านหนังสือดีๆ มีสาระที่ให้แง่คิด
ซูมิย้อนเวลากลับไปเล่าสภาพความเป็นอยู่ของเธอในวัยเด็ก เธอเติบโตมาในครอบครัวที่ถือว่า
เคร่งครัดในแบบแผนการใช้ชีวิตที่ฆราวาสพึงยึดถือ พ่อแม่ของเธอเป็นคนรุ่นเบบี้บูม (baby boomers) ช่วง
ทศวรรษที่ 1960 และโตเป็นหนุ่มสาวในบรรยากาศของสังคมยุคแสวงหาช่วงทศวรรษที่ 1970 ทั้งเธอและ
พ่อแม่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในเขตชุมชนขนาดเล็กของผู้นับถือนิกายเซน ในเขตชนบทของรัฐนิวแฮมเชียร์ ชุม
ชนพึ่งตนเองที่ปฏิเสธกระแสการบริโภคของสังคมสมัยใหม่ เพาะปลูกและผลิตอาหารบริโภคกันเอง แม้แต่
เสื้อผ้าหรือของเล่นเด็ก
ของใช้ไม้สอย อุปกรณ์ และเครื่องเรือนภายในบ้านหลังใหญ่ของเธอล้วนเป็นของที่ใช้แล้วและนำ
กลับมาใช้ใหม่ทั้งสิ้น ของเหล่านี้ได้มาจากการบริจาคบ้าง ซ่อมแซมกันเองจากของเก่าบ้าง โดยมิพักต้อง
พูดถึงยี่ห้อหรือแบรนด์ใดๆ
การเติบโตท่ามกลางสังคมที่มีแบบแผนชีวิตดังกล่าว ส่งผลให้ซูมิเป็นคนที่ตระหนักเสมอว่า สิ่งของ
ทุกอย่างไม่ควรทิ้งขว้าง อะไรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ก็ควรทำ ของเหล่านี้เป็นของทุกคนในชุมชน ทุกคนเป็น
เจ้าของร่วมกัน ฉะนั้นจึงต้องแบ่งปันกันใช้ บริโภคเท่าที่จำเป็นจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นกองกระสอบแป้ง ถั่ว และ
กล่องนมผงขนาดมหึมา แน่นอน การใช้สอยอย่างฟุ่มเฟือยย่อมเป็นข้อห้ามในชุมชนแห่งนี้
พ่อแม่ของเธอ รวมทั้งเพื่อนบ้าน ปฏิบัติและถือครองตนใกล้เคียงกับวิถีแห่งฤๅษีชีไพร คือนิยมการ
บริโภคแต่น้อยและบริโภคอย่างรู้เท่าทันตัวเอง โดยวางเป้าหมายสูงสุดของชีวิตที่การรู้ตื่น ปล่อยว่าง ไม่ถือ
มั่นยึดมั่นในสิ่งใด ตามคำสอนของพระพุทธองค์
ยามใดที่ซูมิแสดงออกถึงความอยากมีอยากได้ พ่อของเธอจะร้องเพลง “Material Girl” ของนักร้อง
ดังอย่างมาดอนนาให้เธอฟัง เพื่อให้เธอตื่นและหลีกไกลจากมนตราแห่งอำนาจของวัตถุ
ภาพครอบครัวของซูมิวัยเด็กที่เล่ามาช่างแตกต่างตรงกันข้ามกับเพื่อนๆ ซึ่งอยู่กันเป็นครอบครัว
เดี่ยว มีอาหารสมบูรณ์พร้อมเตรียมไว้ทุกมื้อ ทั้งความเป็นอยู่ก็แสนสุขสบาย
ยี่สิบปีให้หลัง ซูมิเข้าย่างวัยสามสิบ การดำเนินชีวิตของเธอเปลี่ยนแปลงไป ทัศนคติเกี่ยวกับการ
บริโภคของเธอเริ่มเปลี่ยนไป ตั้งแต่ซื้อบ้านใหม่ วางแผนชีวิตหลังเกษียณ และประกันสุขภาพฟันของเธอเอง
ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นวิถีชีวิตที่แตกต่างกับพ่อแม่ของเธอในวัยเดียวกันโดยสิ้นเชิง
ซูมิคนใหม่มองการบริโภคต่างออก
ไป ทั้งนี้ มิได้แปลว่าเธอหลงใหลไปกับการ
เดินจับจ่ายซื้อของในห้างเคมาร์ตอย่างขาด
สติ อันที่จริง ในแง่หนึ่ง เธอเองก็ไม่ได้ชอบ
กิจกรรมนี้เท่าใดนัก เนื่องจากพื้นที่ในห้าง
สรรพสินค้ามีสินค้าละลานตามากเกินไป
ทั้งยี่ห้อสินค้า สี และกลิ่น ของบางอย่างก็
หาไม่พบจนชวนหัวเสีย
ห้างสรรพสินค้าทำให้เธอรู้สึกได้ถึงความล้นเกินกระทั่งนำไปสู่ความเสื่อมสลาย ขณะเดียวกัน ลึก
เข้าไปในส่วนลึกของเธอ เธอเองก็อยากละ อยากถอยห่างจากการกดทับของแบบแผนชาวพุทธอันเข้มงวด
ที่เธอจำต้องดำเนินรอยตามมาตั้งแต่เด็ก
ความขัดแย้งภายในที่กล่าวมานี้ โหมกระพือหนักขึ้นทุกครั้งที่เธอเข้าไปซื้อของในร้านค้าของชาว
พุทธ อาทิ เบาะรองนั่งอัดนุ่นในร้านที่มีลวดลายสวยงาม ฝีมือประณีต เย็บขอบริมด้วยด้ายไหม น่าใช้สอย
กว่าเบาะอัดหนังสือพิมพ์พันเทปกาวที่พ่อแม่ของเธอเคยทำไว้ใช้เอง
แต่ด้วยราคาของมัน เธอจึงหยุดชะงัก สับสน อดตั้งคำถามกับตัวเองไม่ได้ว่า การนั่งเบาะสวยงาม
นี้จะมีส่วนช่วยให้การนั่งสมาธิของเธอบรรลุผลได้ด้วยหรือ
ต่อมา เมื่อเธอเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาชั้นนำ เธอจึงพบว่า ไม่ใช่เธอคนเดียวที่รู้สึกกระอัก
กระอ่วนใจ เพื่อนชาวพุทธมีฐานะหลายคนที่อาศัยใกล้กับห้างสรรพสินค้าก็ประสบกับภาวะอึดอัดใจ เป็น
ความสลับซับซ้อนของความรู้สึกไม่ต่างกัน
ท่าทีของยุวชนชาวพุทธในโลกตะวันตก
ซูมิกล่าวขยายความอีกครั้งเกี่ยวกับความนึกคิดหรือทัศนคติของพุทธศาสนิกชนรุ่นเธอว่าค่อนข้าง
อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างสองแรงโน้มถ่วง ด้านหนึ่ง พวกเธอคำนึงถึงมลพิษและสิ่งแวดล้อม รู้และเข้าใจเรื่อง
โลกร้อน มีสำนึกของการนำสิ่งของต่างๆ กลับมาใช้ใหม่ ทั้งยังอ่านทฤษฎีมาร์กซิสม์ที่พูดถึงลัทธิบริโภคนิยม
มาตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา ขณะเดียวกันก็สนใจวิชาจิตวิทยาอันสลับซับซ้อนของเดเนียล โกลแมน
(Daniel Goldman) อันมีชื่อ
ในขณะเดียวกัน คนรุ่นเธอยังต้องเผชิญกับการโฆษณาชวนเชื่อของสินค้าสารพัดชนิดอย่างหนัก
หน่วง เป็นการยัดเยียดเพื่อกระตุ้นให้เกิดความอยากที่จะบริโภค การโฆษณาสินค้าอาจเริ่มมีมาแล้วตั้งแต่
วัยเพียงสามขวบ ฉะนั้น จึงไม่แปลกอะไรที่จะพบว่า ชาวพุทธบางคนหันหลังให้กับการบริโภค ขณะที่บาง
คนพึงพอใจในการบริโภค บางรายก็เลือกที่จะประนีประนอมผ่อนผันให้กับความปรารถนาของตัวเอง
คนรุ่นเธอหาความรู้ทางพุทธธรรมจากหนังสือที่คนรุ่นเบบี้บูมเขียนไว้ เช่นงานของเคน คราฟต์
(Ken Kraft) และอัลเลน ฮันต์ – แบไดเนอร์ (Allen Hunt – Badiner) หรือบทเรียนจากในหนังสือ Dharma
Rain ของสเตฟานี่ คาซ่า และเคนเน็ธ คราฟต์ (Stephanie Kaza and Kenneth Kraft) อีกเล่มคือ The
Dharma Bums ของแจ็ค เคโรแอ็ค (Jack Kerouac)
นักเขียนหลายคนกลายมาเป็นแม่แบบให้คนรุ่นเธอเอาอย่าง แต่ถึงที่สุดแล้ว ซูมิบอกว่าคนรุ่นเบบี้
บูมเองก็เปลี่ยนทัศนคติไปมากแล้ว พวกเขาเลือกที่จะเสพสุข เลือกความสะดวกสบายทางวัตถุ มอบให้แก่
ชีวิตตนเองมากขึ้น อย่างน้อยตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา ในจำนวนนี้ ไม่เว้นแม้แต่พ่อและแม่ของซูมิ
เอง
เบื้องต้น ซูมิได้เสนอให้จำแนกประเภทของกลุ่มยุวชนชาวพุทธรุ่นเดียวกับเธอไว้อย่างหลวมๆ ออก
เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ไม่เข้มงวด การบริโภคไม่ใช่เรื่องใหญ่โต
อะไร (nonconsumers) กลุ่มที่สองเป็นผู้บริโภคที่เห็นว่าการปฏิเสธการบริโภคโดยสิ้นเชิงนั้นช่างไร้เหตุผลยิ่งนัก (anti-anticonsumers or at-ease consumers) และสุดท้ายคือผู้บริโภคที่มีสติรู้ (conscious
consumers)
กลุ่มแรกมักเป็นคนที่เคยบวชเรียนหรือไม่ก็เจริญรอยตามทางที่พุทธศาสนิกชนผู้เคร่งครัดพึงปฏิบัติ
กลุ่มนี้ดำเนินชีวิตด้วยความเรียบง่าย ถือสมถะ ไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งมาตั้งแต่ต้น ยุวชนชาวพุทธกลุ่ม
นี้คิดว่าความเรียบง่ายสบายๆ จะนำมาซึ่งอิสรภาพของพวกเขาที่จะอุทิศตัวเองช่วยเหลือผู้อื่น แทนที่จะ
หมกมุ่นอยู่กับตัวเองภายในบ้าน
พวกเขาไม่ถึงกับปฏิเสธหรือต่อต้านการบริโภค (anticonsumerists) พวกเขาไม่นิยมการไปยืนหน้า
ห้างเคมาร์ตแล้วตะโกนส่งเสียงประท้วง หรือร่วมชุมนุมต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ ขณะเดียวกัน พวกเขาก็
ไม่ใช่บุคคลจำพวกเลือกซื้อแต่ผักผลไม้จากศูนย์รวมสินค้าทางการเกษตรขนาดใหญ่ ในจำนวนนี้ ภิกษุบาง
รายถึงกับตื่นเต้นทุกครั้งด้วยซ้ำ หากมีโอกาสได้เข้าห้าง เดินซื้อหาซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ชิ้นล่าสุด
กลุ่มที่สองมีจำนวนน้อย กลุ่มนี้เคยเคร่งครัดในวัตรปฏิบัติมาก่อน แล้วมาเปลี่ยนหรือผ่อนผันให้แก่
ตัวเองในภายหลัง คนกลุ่มนี้ตระหนักดีในคำสอนของพุทธศาสนาแบบตะวันตกที่ว่าด้วยเรื่องการปฏิเสธ
บริโภคนิยม แต่พวกเขาก็เลือกที่จะบริโภคต่อไปภายหลังจากที่พิจารณาถ้วนถี่แล้ว
ในแง่หนึ่ง คนกลุ่มนี้ถูกมองว่าตามกระแสบริโภคนิยมด้วยซ้ำไป พวกเขาถูกมองว่าได้กลืนกลายตัว
เองเป็นสมาชิกผู้ถือบัตรบริโภคนิยมเต็มขั้น อย่างเช่นปล่อยตัวเองให้เพลิดเพลินกับการบริโภคอาหาร
ประเภทไขมันสูง ซึ่งแตกต่างกับวิถีชีวิตของพวกเขาในอดีตจากหน้ามือเป็นหลังมือ
มาถึงกลุ่มสุดท้าย คนกลุ่มนี้รู้ตัวว่าพวกเขากำลังทำอะไรอยู่ พวกเขาอาจเคยปฏิเสธการบริโภค
อย่างหัวชนฝา มีอุดมการณ์สุดโต่ง แต่อีกหลายคนกลับเคยบริโภคอย่างขาดสติมาก่อน สุดท้าย พวกเขาก็
กลายมาเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สำนึกระลึกรู้ เป็นผู้บริโภคที่บริโภคอย่างมีสติ เรียกตัวเองได้ทั้งพุทธศาสนิกชน
และผู้บริโภคได้ในเวลาเดียวกัน
กลุ่มสุดท้ายนี้เลือกเดินทางสายกลาง อย่างน้อย พวกเขาก็เปลี่ยนตัวเองจากผู้บริโภคที่ไม่พิจารณา
มาเป็นผู้บริโภคที่ตระหนักรู้มากขึ้น เห็นและตระหนักถึงอิทธิพลของบริโภคนิยมที่เข้ามาในใจและสภาพ
แวดล้อมรอบตัวพวกเขา
ภาพยุวชนชาวพุทธรุ่นใหม่ที่ซูมิเสนอ แตกต่างจากภาพของคนรุ่นพ่อและแม่ของเธอในวัยเดียวกัน
อาจเรียกว่าคนรุ่นเธอเคร่งในสายปฏิบัติน้อยกว่าก็คงไม่ผิดนัก นั่นคือ คนรุ่นพ่อและแม่ เมื่อตัดสินใจหัน
หลังให้กับการบริโภคแล้ว พวกเขาถึงกับเพาะปลูกพืชผักบริโภคกันเอง ผลิตสินค้าทำมือใช้สอยเอง และนำ
สิ่งของกลับมาใช้ใหม่เสมอๆ ดังที่ได้กล่าวไปบ้างแล้ว ซูมิเรียกความเป็นอยู่แบบนี้ว่าความพอเพียง (selfsufficiency)
ซึ่งต่างจากแบบฉบับของชาวพุทธรุ่นใหม่อย่างซูมิและเพื่อนๆ
นอกจากนี้ ภาพลักษณ์ของชาวพุทธรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปนั้น ซูมิคิดว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยน
แปลงแบบแผนการดำเนินชีวิตของคนรุ่นก่อนที่มีท่าทีผ่อนคลายกับการบริโภคมากขึ้น
พ่อและแม่ของซูมิวันนี้ ยินดีกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบชนชั้นกลาง มีรถยนต์ใหม่ราคาแพงขับ และ
โดยเฉพาะแม่ของเธอยังทำประกันซี่ฟันอีกด้วย ซูมิกล่าวว่า สังคมสหรัฐฯ วันนี้ ผู้ปฏิเสธการบริโภคอย่างหัว
ชนฝาน่าจะมีจำนวนลดน้อยลงมากแล้ว
ด้วยเหตุนี้ ซูมิจึงคาดเดาไว้ว่า ท่าทีของเยาวชนชาวพุทธกลุ่มสุดท้ายนี้น่าจะได้ผล สอดคล้องกับ
ความเป็นจริงมากที่สุด สามารถนำไปพัฒนาเป็นอุดมการณ์หลักปักฐานต่อไปในวันข้างหน้าได้
อย่างไรก็ดี เธอยังตั้งคำถามท้าทายต่อไปอีกว่า สัดส่วนและความยากง่ายของการจะดำรงสภาวะ
ของชาวพุทธกับการจะเป็นผู้บริโภคที่เรียบง่ายสบายๆ นั้นควรเป็นเช่นไรจึงเหมาะสม กล่าวอีกอย่างคือ เรา
จะเป็นผู้บริโภคที่มีสติได้อย่างไรกัน และจะแน่ใจได้อย่างไรว่านี่คือทางสายกลาง เป็นหนทางอันสมดุลของ
ปัจเจกระหว่างความจำเป็นต้องการทางจิตใจ จิตวิญญาณ และเหตุผลเชิงเศรษฐกิจ ตลอดจนความยุติ
ธรรมทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน
สินค้าแนวพุทธ
พุทธศาสนาในโลกทัศน์ของเยาวชนในสหรัฐฯ ไม่ต่างอะไรกับวิชาปรัชญา วิทยาศาสตร์ จิตวิทยา
และแบบปฏิบัติการฝึกฝน เป็นศาสนาที่แปลงกายเป็นผลิตภัณฑ์ให้ใครต่อใครซื้อหามาบริโภคได้ และเหตุนี้
เอง ซูมิจึงชวนตั้งคำถามว่า เราเองก็บริโภคพุทธศาสนาไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเช่นกัน เพราะทั้งๆ ที่พุทธธรรม
พร่ำสอนให้เราละวาง แต่พุทธศาสนสถานกลับเต็มไปด้วยแท่นบูชาไม้สัก รวมทั้งประดิษฐานพระพุทธรูปสูง
ค่าและราคาด้วย
สภาพที่ขัดแย้งกันเองลักษณะนี้ คนรุ่นใหม่จึงไม่ใคร่ศรัทธาในวิถีพุทธเท่าใดนัก พวกเขาบริโภค
แฟชั่นสินค้าชาวพุทธอย่างเสื้อผ้าแนวเซนสุดเท่ ใช้น้ำหอมซัมซาร่า (Samsara) ฟังเพลงแห่งธรรมที่บรรเลง
ทำนองดนตรีแนวร็อคจากวงบีสตี้บอยส์ (Beastie Boys) ได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ หนำซ้ำ นักร้องนำขอ
งวงนี้ยังนับถือพุทธศาสนาด้วย คืออาดัม เยาช์ (Adam Yauch) ผู้คอยดึงศรัทธาธรรมจากแฟนเพลงวัยรุ่น
ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย
สินค้าที่พวกเขาชื่นชอบยังหมายรวมถึงกำไลหินที่เรียกกันทั่วไปว่าอมตะ (Nirvana) ซูมิเล่าว่า แม้
แต่ในชุมชนผู้นับถือนิกายเซน ติดประกาศหลักธรรมสำคัญ (ลึกซึ้ง ฉับพลัน และฝึกฝน) ไปทั่วก็ไม่ยกเว้น
ว่าไปแล้ว ดูเหมือนเธอเองก็รังเกียจ ไม่ใคร่ชื่นชอบพฤติกรรมที่ขัดกับคำประกาศหรืออุดมการณ์ดัง
กล่าวเท่าใดนัก ความรู้สึกทำนองนี้ไม่ต่างอะไรกับที่ชาวคาธอลิครู้สึกและได้ออกมาปฏิเสธแฟชั่นเครื่อง
ประดับสร้อยคอรูปไม้กางเขนตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980
แต่ถึงกระนั้น จากข้อมูลที่เธอได้มาทำให้เธอจำต้องยอมรับความจริงบางประการ นั่นคือ หนทางไป
สู่พุทธศาสนาของคนรุ่นใหม่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนไปไกลมากแล้ว คนรุ่นใหม่กว่าครึ่งเข้าถึงพุทธะผ่านการ
บริโภควัตถุ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สิ่งพิมพ์ พระพุทธรูป ดนตรี หรือภาพยนตร์ ไม่เหมือนคนรุ่นก่อนที่ดำเนิน
ชีวิตโดยปฏิเสธการบริโภค
คนรุ่นซูมิหาสาระธรรมได้จากในหนังสือที่หลากหลาย ตั้งแต่แนวประสบการณ์ส่วนตัว เช่น The
Accidental Buddhist เขียนโดย ดินตี้ มัวร์ (Dinty Moore) แนววิชาการ อย่าง The Story of Buddhism
โดย ดอน โลเปซ (Don Lopez) หรือจากสายปฏิบัติธรรมอย่างเล่ม Mindfulness in Plain English ของ ภัน
เต กูนาราตนะ (Bhante Gunaratana) กระทั่งถึงหนังสือยอดนิยมขององค์ทะไลลามะ อาทิเรื่อง The Art
of Happiness
หรือหากเปรียบเทียบระหว่างพระพุทธรูปกับไม้
กางเขน พวกเขาก็นิยมมองอิริยาบถ รอยแย้มยิ้มอันล้ำลึก
และสงบเย็นของพระพุทธรูปมากกว่าท่าทางอันทรมานของ
พระเยซูที่ถูกตรึงบนไม้กางเขน
หรือหากเปรียบเทียบระหว่างพระพุทธรูปกับไม้
กางเขน พวกเขาก็นิยมมองอิริยาบถ รอยแย้มยิ้มอันล้ำลึก
และสงบเย็นของพระพุทธรูปมากกว่าท่าทางอันทรมานของ
พระเยซูที่ถูกตรึงบนไม้กางเขน
แม้ดูเหมือนการบริโภคดังกล่าวจะทำให้เราเข้าถึง
ธรรมะได้เพียงผิวเผิน แต่นั่นก็คือวิธีการหนึ่งในการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งพุทธะ เมื่อใดก็ตามที่วิกฤตชีวิตของ
พวกเขาเวียนมาถึง เช่น ความตายของสมาชิกในครอบครัว การพลัดพรากจากคู่ครอง และอุบัติเหตุทางรถ
ยนต์ เมล็ดพันธุ์ดังกล่าวก็จะงอกงามในจิตใจ เคลื่อนจิตวิญญาณของเจ้าของเรือนร่างสู่การแสวงหาความ
หมายและจุดประสงค์ที่แท้ของการมีชีวิตอยู่ เป็นการเข้าสู่ปรัชญาแห่งพุทธธรรมผ่านการบริโภคอย่างมีสติ
ผ่านคุณค่าของวัตถุธรรม
ท่าทีของเยาวชนชาวพุทธในเอเชีย
ซูมิพูดถึงนักศึกษาชาวพุทธในมหาวิทยาลัยเซนส์มาลายา (University Sains Malaya) ในรัฐปีนัง
ประเทศมาเลเซีย นักศึกษากลุ่มนี้อาศัยและแบ่งปันพื้นที่ภายในบ้านหลังใหญ่สองหลังใกล้สถานศึกษา
เพื่อใช้ห้องนั่งเล่นเป็นพื้นที่ปฏิบัติธรรม และมีแท่นบูชาพระพุทธประดิษฐานอยู่ด้วย
นักศึกษากลุ่มนี้จัดอยู่ในประเภทเด็กในกรอบ ตัดผมและแต่งกายถูกต้องตามกฎระเบียบ สวมเสื้อ
เชิ้ตสีขาวและกางเกงผ้าขายาว พวกเขาสนใจเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร
และวิทยาศาสตร์ โดยใฝ่ฝันอยากจะเลื่อนฐานะเป็นชนชั้นกลาง มีบ้านเป็นของตัวเอง รุ่งเรืองในอาชีพการ
งานของตน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่แสนสบาย ประสบความสำเร็จทางโลกย์ตามประสาของชนชั้นกลาง
ความสนใจและเลือกเรียนวิชาการของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ แตกต่างกับของนัก
ศึกษาที่รัฐปีนังอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือที่สหรัฐฯ เยาวชนจะให้ความสนใจในวิชาศาสนา มานุษยวิทยา ศิลปะ
และประวัติศาสตร์ ทั้งยังไม่ใส่ใจการแต่งตัว สวมใส่อะไรก็ได้ไม่ตามแฟชั่น ทรงผมของพวกเขาก็แสน
ธรรมดา ไม่หลากหลาย
นักศึกษาในสหรัฐฯ และโลกตะวันตกมีเป้าหมายของชีวิตที่ต่างออกไป นั่นคือ พวกเขาต้องการหนี
ห่างจากกรอบสังคมอเมริกัน แล้วแสวงหาทางเลือกในชีวิตใหม่ เป็นเป้าหมายที่ต่างกับนักศึกษาที่ปีนัง
ฉะนั้น ถึงแม้นักเรียนจากทั้งสองโลกจะปฏิบัติตนตามประเพณีชาวพุทธ แต่อุปนิสัยในการบริโภค
และการใช้สอยสินค้าของพวกเขาก็ต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
อนึ่ง ซูมิได้เรียนรู้ว่า การเป็นชาวพุทธมิได้หมายความว่าจะต้องเป็นผู้ปฏิเสธลัทธิบริโภคนิยมเสมอ
ไป เยาวชนชาวพุทธในประเทศเอเชียที่กำลังพัฒนา สามารถปฏิบัติไปบนหนทางแห่งธรรมโดยไม่สูญเสีย
หลักประกันความมั่นคงและความสำเร็จในชีวิตอนาคตของพวกเขา นั่นคือ บริโภคนิยมสำหรับนักเรียนใน
เอเชียไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด รวมทั้งคนเอเชียรุ่นก่อนหน้านี้ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐฯ เองก็ไม่เป็นปัญหา
พวกเขามีแนวโน้มที่จะแสวงหาชีวิตในแบบชนชั้นกลางอยู่แล้ว และอย่างที่เห็นข้างต้น นักเรียนชาวเอเชียที่
มีฐานะมักมีอุปนิสัยลอกเลียนแบบหรือเอาอย่างเยาวชนในสหรัฐฯ หรือโลกตะวันตกเสียด้วยซ้ำ
คำถามต่อเนื่องของซูมิคือ ทำไมประเด็นการบริโภคจึงเป็นปัญหาใหญ่หลวงนักในโลกทัศน์ของชาว
พุทธ และเหตุใดเยาวชนชาวพุทธในโลกตะวันตก (ลูกครึ่งอเมริกันเอเชียรุ่นสอง) และชาวเอเชียมีฐานะ จึง
เน้นธรรมะแต่เพียงบางข้อที่เกี่ยวข้องกับความปรารถนา การปล่อยวาง และการพึ่งพากันและกัน ในบริบท
ที่เกี่ยวข้องวัฒนธรรมการบริโภค
ซูมิวิเคราะห์ไว้ว่า ประการแรกน่าจะเป็นเพราะอิทธิพลกระแสบริโภคนิยมแบบอเมริกันชนเข้าครอบ
งำ โดยเฉพาะผู้ฐานะดี ฆราวาสประเภทนี้ อาจเลือกละวางด้วยการลดการทานอาหารลง คือใช้คำสอนของ
พระพุทธองค์เป็นโอสถพิเศษเพื่อปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ และเยียวยาสังคมที่ติดบริโภคนิยมมากมาย
จนล้นเกิน ส่วนอีกประการ เป็นประเด็นเรื่องชนชั้นที่ขมวดแนวทางของพุทธศาสนากับบริโภคนิยมเข้ามา
พันเกี่ยวกันจนแยกไม่ออก พาให้คิดวนเวียนแนวคำสอนและแนวทางปฏิบัติธรรมไม่พ้นกรอบคิดเรื่องการ
บริโภค
ซูมิเล่าประสบการณ์ของเธอต่อด้วยว่า คนมาเลย์ทั่วไปที่เธอพบเห็นมีความต้องการสินค้ามากพอๆ
กับอเมริกันชน หากพวกเขามีเงินพอ พวกเขาก็จะซื้อหามาบริโภค ความโลภจึงดูเหมือนจะเป็นลักษณะที่
อยู่คู่กับมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่เฉพาะคนอเมริกัน
ความหลากหลายของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาทั้งในเอเชียและสหรัฐฯ ก็มีมากมายไม่แพ้
กัน ไม่ว่าจะเป็นสร้อยลูกประคำ เครื่องรางของขลังในรถยนต์ หรือลวดลายบนโทรศัพท์มือถือ
ภาพสะท้อนกลับ
ซูมิกลับมาที่ห้างเคมาร์ตอีกครั้ง และเดินหาซื้อเครื่องทำความร้อนชนิดน้ำสำหรับใช้ในบ้านของเธอ
การบริโภคแบบนี้ ซูมิไม่ถือว่าเป็นข้อเสีย เพราะเธอซื้อของจำเป็น โดยเธอเองไม่ใส่ใจหรือหงุดหงิดกับสินค้า
ที่มีให้เลือกเพียงสีขาวสีเดียวเท่านั้น เป็นประสบการณ์การจับจ่ายซื้อของที่ผ่อนคลาย สะอาด เบาสบาย
ซูมิยังคงไปห้างเคมาร์ตเป็นปรกติ บางครั้งก็จำเป็น บางครั้งก็เดินเตร่ไปตามชั้นวางสินค้า เผื่อพบ
ของที่กำลังต้องการ และสินค้าที่เธอเลือกยังคงมีลักษณะพื้นๆ แต่มีสไตล์
เธอรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณคนชุมชนผู้นับถือนิกายเซน แต่ขณะเดียวกัน เธอเองก็ไม่คิดที่จะเลี้ยงลูก
ของเธอในสภาพแวดล้อมอันขาดแคลนแบบเดียวกับที่เธอเติบโตมา
สังคมสมัยใหม่มีทางเลือกมากขึ้น คุณสามารถเป็นชาวพุทธที่ยังบริโภคได้ หากแต่ต้องบริโภคอย่าง
ตระหนักรู้ อาหารทางเลือกก็มีให้ซื้อหามากมาย กลุ่มกิจกรรมทางสังคมก็เช่นกัน
นอกจากนี้ หลักสูตรในสถานศึกษาก็ยังมีการเรียนการสอนวิชาพุทธศาสนา ทั้งสอนให้เราเท่าทัน
สื่อและรู้รับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนองค์การนักศึกษาที่อาสาสมัครเพื่อสังคมก็มีมากมายให้ยุวชนเลือก
ทำงาน อันเป็นการฝึกฝนขัดเกลาจิตใจตนนั่นเอง
Source : http://www.sac.or.th/